วันศุกร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ความรู้เรื่องInternet

อินเตอร์เน็ต


ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ตและการสืบค้นสารนิเทศในระบบอินเตอร์เน็ต

อินเตอร์เน็ตคืออะไร
ความหมาย อินเตอร์เน็ตคือระบบเครือข่ายของข้อมูลและคอมพิวเตอร์ สาธารณะขนาดใหญ่ที่เกิดจากระบบเครือข่ายขนาดเล็ก ๆ หลาย ๆ เครือข่ายที่อาศัยมาตรฐานการเชื่อมต่อแบบเดียวกัน ต่อเชื่อมเข้าหากันเพื่อให้บริการข้อมูลแก่ผู้ใช้บริการ โดยไม่มีใครเป็นเจ้าของหรือผู้ดูแลอินเตอร์เน็ตแต่เพียงผู้เดียว อาสน์ทิพย์  ภิญโญยิ่ง (2544, 1-24)

ประวัติความเป็นมาของระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

จุดกำเนิดเริ่มแรกของอินเตอร์เน็ตนั้น เกิดขึ้นจากวัตถุประสงค์ทางการทหารและความมั่นคงของประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อให้สามารถเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าหากันแม้จะมีระบบที่แตกต่างกันและสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้แม้ว่าเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งในระบบที่ต่ออยู่จะไม่สามารถทำงานได้ และการพัฒนาการของระบบก็มีมาอย่างต่อเนื่องดังนี้
..2512 หน่วยงาน ARPA (Advance Research Project Agency)  ซึ่งเป็นผู้ที่ดำเนินการวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ของสหรัฐ ได้ริเริ่มโครงการที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ มีชื่อโครงการว่า ARPANet ผู้ที่ทำโครงการนี้ก็คือผู้เชี่ยวชาญที่อยู่ในมหาวิทยาลัยที่ร่วมโครงการ ในระยะแรกใช้สายโทรศัพท์ในการต่อเชื่อมผ่านโปรโตคอล(Protocol) NCP (Network Control Protocol) และจำกัดจำนวนเครื่องที่สามารถต่อเข้าในระบบด้วย
..2514 มีการสร้างโปรแกรมรับส่ง e-mail เพื่อสื่อสารกันระหว่างระบบเครือข่ายต่าง ๆ
..2516 ARPANet ได้เชื่อมต่อไปยังประเทศ อังกฤษและนอร์เวย์
..2525 ARPANet เปลี่ยนจาก NCP มาเป็น TCP/IP (Transmission Control Protocol/ Internet Protocol)
..2527 มีการเริ่มใช้ระบบ DNS(Domain Name Server)
..2529 ก่อตั้ง NSFNET (National Science Foundation Network) มีความเร็ว 56 Kbps. เพื่อเชื่อมต่อเครื่อง supercomputer จากสถาบันต่าง ๆ เข้าด้วยกัน และได้ชื่อว่าเป็น backbone ที่สำคัญของระบบอินเตอร์เน็ต
..2530 หน่วยงาน Merit Network ได้เข้ามาเป็นผู้ดูแล NSFNET
..2532 NSFNET เพิ่มความเร็วเครือข่ายเป็น 1.544 Mbps จำนวนเครื่องที่เชื่อมต่อเข้าสู่อินเตอร์เน็ตก็เพิ่มขึ้นเป็น 100,000 เครื่อง
..2533 ARPANet หยุดดำเนินการ
..2534 มีการก่อตั้ง NERN (National Research and Education Network) จำนวนเครื่องที่ต่อเชื่อมเข้าสู่อินเตอร์เน็ตมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจาก 376,000 เครื่องในเดือนมกราคม เป็น 617,000 เครื่องในเดือน ตุลาคม
..2535 มีการเริ่มใช้ www ที่ CERN (the European Laboratory for Particle Physics) NSFNET เพิ่มความเร็วเป็น 44.736 Mbps จำนวนเครื่องที่ต่อเชื่อมเข้าสู่อินเตอร์เน็ตเพิ่มขึ้นถึง 1,000,000 เครื่อง
..2536 NSF ก่อตั้ง InterNIC เพื่อเป็นผู้ดำเนินการเรื่องการแจกจ่ายชื่อโดเมน บริษัทและผู้สนใจต่าง ๆ เริ่มเชื่อมต่อตัวเองเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ต
..2537 NCSC (National Center for Computing at University of Illinois) สร้างโปรแกรม Mosaic เป็นโปรแกรม Web browser  เริ่มมีการทำการค้าขายผ่านอินเตอร์เน็ต และ มีโปรแกรมที่ช่วยสำหรับค้นหาข้อมูลเกิดขึ้น
..2538 ยกเลิกโครงการ NSFNET และเปลี่ยนไปลงทุนกับโครงการ vBNS (Very-High-Speed Backbone Network Service) เพื่อเป็น backbone ให้แก่อินเตอร์เน็ตในอนาคต

พื้นฐานการทำงานของระบบอินเตอร์เน็ต

ระบบอินเตอร์เน็ตในปัจจุบันนั้นอาศัยโปรโตคอล TCP/IP เป็นหลัก สิ่งสำคัญที่ควรทราบเกี่ยวกับโปรโตคอล TCP/IP ก็คือ การต่อเชื่อมเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ใดเข้าสู่ระบบเครือข่ายที่เป็น TCP/IP นั้นทุกเครื่องจะต้องมีหมายเลขกำกับเสมอ เพื่อระบุแหล่งที่มาของข้อมูลหมายเลขที่กำกับนี้มีชื่อว่าหมายเลย IP หมายเลขนี้จะเป็นเลขฐาน 2 ขนาด 32 บิตสามารถเขียนได้เป็นเลขฐาน 2 จำนวน 4 ชุดแยกจากกันโดยใช้จุดคั่นเลขแต่ละชุดสามารถ สามารถเปลี่ยนได้ตั้งแต่ 0-255 เช่น 192.150.249.11, 64.4.43.7 เป็นต้น


11111111
.
11111111
.
11111111
.
111111112
255
.
255
.
255
.
255


จากหมายเลข IP ขนาด 32 บิตที่ใช้ในปัจจุบันทำให้สามารถมีจำนวนเครื่องที่เข้าใช้ ได้จำนวนหลายพันล้านเครื่องแล้วแต่จำนวนขนาดนี้ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการทำให้ต้องมีโครงการขยายหมายเลข IP ออกไปอีกในปัจจุบัน ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่ทุกเครื่องที่สามารถต่อเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ตได้ จะต้องมีหมายเลข IP ด้วยเสมอสามารถดูได้จากโปรแกรมที่เตรียมไว้ในเครื่อง เช่นในระบบ windows จะใช้คำสั่ง winipcfg สามารถเข้าไปที่ Start / Run / winipcfg แล้วกด ok จะมีหน้าต่างแสดงข้อมูลเกี่ยวกับหมายเลข IP ปรากฏขึ้นมาดังภาพ


ถ้าเป็นระบบอื่น ๆ ก็จะใช้คำสั่งที่แตกต่างกันไปสามารถตรวจสอบได้จากคู่มือที่มากับเครื่อง

ระบบ Domain Name
ระบบนี้สร้างขึ้นมาเพื่อนำชื่อที่สามารถจดจำได้ง่ายกว่าตัวเลข IP มาใช้ในการขอใช้ บริการ จากเครื่องต่าง ๆ ส่วนใหญ่เป็นบริการ แบบ world wide web คล้ายกับการที่ทางราชการกำหนดให้ประชาชนจะต้องทำบัตรประชาชน ในบัตรก็จะมีตัวเลขประจำตัวที่ยาวมาก ไม่ค่อยมีใครจดจำนักแต่มีชื่อและนามสกุลที่จำได้ง่ายกว่าเมื่อใช้เรียก ตัวอย่างเช่น

นาย สมชาย ใจดี  มีหมายเลขประจำตัวผู้ถือบัตรเป็น   3 1101 02545 06 4 ถ้าหากเรียกหมายเลขตามบัตรย่อมเกิดความสับสนได้แน่นอนเพราะจำนวนหลักมีมากแต่ถ้าเรียกชื่อ และนามสกุลย่อมสามารถเข้าใจได้ง่ายกว่าแน่นอน ถ้าเป็น website จะแทนด้วย
http://www.hotmail.com/ แทนด้วย 64.4.54.7
http://www.eau.ac.th/ แทนด้วย  203.155.193.251
โดยโครงสร้างของชื่อโดเมนจะเป็นดังนี้ ชื่อเครื่อง.ชื่อโดเมน
การตั้งชื่อโดเมนเนมนั้นจะตั้งให้สามารถจดจำได้ง่ายโดยจะมีการแบ่งระดับชั้นดังนี้
ขั้นแรกจะแยกเป็นส่วนของสถานที่ตั้ง (Geographic Location) ส่วนใหญ่ใช้ชื่อประเทศเช่น
ประเทศไทย ใช้ th
ประเทศญี่ปุ่นใช้ jp
ประเทศไต้หวันใช้ tw
ประเทศฝรั่งเศลใช้ fr
ประเทศอังกฤษใช้ uk
ฯลฯ
แต่มีประเทศหนึ่งไม่จำเป็นจะต้องใช้สถานที่ตั้งบอกก็คือประเทศสหรัฐอเมริกา แต่จะใช้กลุ่มของสิ่งที่จะนำเสนอเป็นโดเมนระดับนี้เลย เช่น com(comercial), gov(government), net(network), org(organization), edu(education) แทนชื่อประเทศได้เลย แต่เนื่องจากชื่อโดเมนระดับบนสุดที่ลงท้ายด้วย com, org, net สามารถจดจำได้ง่ายทำให้ผู้ที่จดทะเบียนโดเมนจากประเทศอื่นนำชื่อเหล่านี้ไปใช้เพื่อให้สามารถจำได้ง่าย

ระดับถัดไปจะแยกเป็นประเภทของสิ่งที่นำเสนอว่าเป็นใด เช่นเป็น หน่วยงานทางธุรกิจ, ราชการ, เกี่ยวกับเครือข่าย, สถาบันการศึกษา ก็จะมีชื่อที่ใช้แทนแต่ละแบบดังเช่นที่ใช้ในประเทศไทยจะใช้ co(company), ac(academic), go(government), or(organization), in(individual) เป็นต้น
ระดับถัดไปก็จะเป็นชื่อโดเมนที่ผู้ใช้ต้องการจะจดทะเบียนอาจจะเป็นชื่อหน่วยงาน ชื่อบริษัท ชื่อบุคคลหรือคำใด ๆ ที่สื่อความหมายถึงเนื้อหาที่ให้บริการตัวอย่างเช่น


www
eau
ac
th


สามารถอธิบาย ได้ดังนี้
www คือ ชื่อเครื่องโดยส่วนใหญ่จะเป็นชื่อนี้ถ้าเป็นเครื่องที่ให้บริการ World wide web
eau คือ ชื่อโดเมนที่ตั้งขึ้นเพื่อบอกถึงชื่อว่าคือมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
ac คือ ชื่อโดเมนที่บอกว่าเป็นสถาบันการศึกษา
th คือ ชื่อโดเมนระดับบนสุดบอกว่าเป็นประเทศไทย


www
bot
or
th


สามารถอธิบาย ได้ดังนี้
www คือชื่อเครื่อง ตั้งเป็นชื่ออื่นได้แต่เพื่อให้ผู้ใช้บริการคุ้นเคย
bot คือชื่อโดเมนมาจากคำว่า Bank of Thailand เป็นคำย่อที่เป็นภาษาอังกฤษของหน่วยราชการไทยซึ่งมีอีกหลายแห่ง ต้องอาศัยการสืบค้นจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เพราะการแปลชื่อหน่วยงานให้เป็นภาษาอังกฤษโดยผู้ใช้อาจทำได้ไม่ตรงแล้วค้นหาไม่เจอก็ได้
or คือ หน่วยงาน องค์การอิสระ
th คือประเทศไทย


www
Thaimail
com


สามารถอธิบายได้ดังนี้
www คือ ชื่อเครื่อง
thaimail คือ ชื่อโดเมน ที่สื่อความหมายถึงเป็นการให้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย
com คือ หน่วยงานทางธุรกิจ แต่ในที่นี้ไม่ได้ตั้งอยู่ในประเทศ สหรัฐอเมริกา เพียงแต่ใช้ .com เพราะว่าจำง่าย

Internet growth:
   Date      Hosts    |   Date     Hosts      Networks   Domains
   ------   --------  +   -----   ---------   --------  ---------
   12/69       4      |   07/89   130,000       650      3,900
   06/70       9      |   10/89   159,000       837
   10/70      11      |   10/90   313,000     2,063      9,300
   12/70      13      |   01/91   376,000     2,338
   04/71      23      |   07/91   535,000     3,086     16,000
   10/72      31      |   10/91   617,000     3,556     18,000
   01/73      35      |   01/92   727,000     4,526
   06/74      62      |   04/92   890,000     5,291     20,000
   03/77     111      |   07/92   992,000     6,569     16,300
   12/79     188      |   10/92  1,136,000    7,505     18,100
   08/81     213      |   01/93  1,313,000    8,258     21,000
   05/82     235      |   04/93  1,486,000    9,722     22,000
   08/83     562      |   07/93  1,776,000   13,767     26,000
   10/84   1,024      |   10/93  2,056,000   16,533     28,000
   10/85   1,961      |   01/94  2,217,000   20,539     30,000
   02/86   2,308      |   07/94  3,212,000   25,210     46,000
   11/86   5,089      |   10/94  3,864,000   37,022     56,000
   12/87  28,174      |   01/95  4,852,000   39,410     71,000
   07/88  33,000      |   07/95  6,642,000   61,538    120,000
   10/88  56,000      |   01/96  9,472,000   93,671    240,000
   01/89  80,000      |   07/96 12,881,000  134,365    488,000
                      |   01/97 16,146,000             828,000
                      |   07/97 19,540,000           1,301,000
                                          *** see Note below ***

   Hosts    = a computer system with registered ip address (an A record)
   Networks = registered class A/B/C addresses  
   Domains  = registered domain name (with name server record)

   Note: A more accurate survey mechanism was developed in 1/98; new and
         some corrected numbers are shown below.  For further info, see
         Sources section.
Date      Hosts     | Date     Hosts    | Date    Hosts
-----   ----------- + ----- ----------- + ----- -----------
01/95     5,846,000 | 01/97  21,819,000 | 01/99 43,230,000
07/95     8,200,000 | 07/97  26,053,000 | 07/99 56,218,000
01/96    14,352,000 | 01/98  29,670,000 | 01/00 72,398,092
07/96    16,729,000 | 07/98  36,739,000 | 07/00 93,047,785
                    | 01/01 109,574,429




บริการต่าง ๆ ในอินเตอร์เน็ต

บริการที่มีในอินเตอร์เน็ตนั้นมีอยู่หลากหลาย มักจะเกี่ยวกับการสื่อสาร, การให้บริการข้อมูลเป็นหลัก รูปแบบการติดต่อกับผู้ใช้เท่านั้นที่มีการปรับเปลี่ยนจากที่มีแต่ตัวอักษรกับหน้านจอสีดำ (Terminal) ก็มีการพัฒนารูปแบบให้มีความน่าสนใจและใช้งานได้ง่ายเพิ่มขึ้น รูปแบบการให้บริการที่จะกล่าวถึงเป็นอันดับแรก เป็นบริการที่ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว และสามารถใช้งานได้ง่าย บริการนี้มีชื่อว่า www  (World Wide Web)
บริการ E-mail (Electronic Mail) เป็นบริการรับ-ส่ง จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ภายในระบบอินเตอร์เน็ต การใช้งานผู้ใช้บริการจะต้องสมัครเป็นสมาชิกผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตหรือผู้ให้บริการอีเมล์ก่อนจึงจะสามารถใช้ได้ ถ้าสมัครกับใครก็จะได้ที่อยู่ของอีเมล์ไปอยู่ที่โดเมนเนมของผู้ให้บริการเช่นผู้ใช้บริการชื่อ “xxx” ใช้บริการอินเตอร์เน็ตของบริษัท “aaa” ที่มีชื่อโดเมนเนมเป็น “aaa.com” ถ้าหากบริษัท aaa มีการให้บริการอีเมล์ผู้ใช้บริการก็จะได้ใช้บริการอีเมล์ของบริษัท aaa ซึ่งอาจจะเป็นชื่อ xxx@aaa.comถ้าหากชื่อ xxx นั้นไม่ซ้ำกับใครเป็นต้น รูปแบบของที่อยู่อีเมล์ (e-mail address) จะมีรูปแบบ ที่สามารถจำได้ง่าย ๆ ดังนี้
ชื่อผู้ใช้ @ ชื่อโดเมน หรือ ชื่อผู้ใช้ @ ชื่อเครื่อง.ชื่อโดเมน
การใช้บริการจากผู้ให้บริการเหล่านี้จะต้องใช้โปรแกรมเพื่อตรวจสอบจดหมายที่เข้ามาและอีเมล์นี้จะถูกยกเลิกเมื่อเลิกใช้บริการอินเตอร์เน็ตจากบริษัทนั้นด้วย แต่ถ้าหากใช้บริการจากผู้ให้บริการ e-mail ฟรีทั่ว ๆ ไปเช่น http://www.hotmail.com/, http://www.mail.yahoo.com/, www.mail.com, http://www.chaiyo.com/, http://www.thaimail.com/, http://www.thailand.com/ เป็นต้น จะสามารถเลือกชื่อผู้ใช้ที่ต้องการได้เองและไม่มีวันหมดอายุ เมื่อเลิกใช้บริการอินเตอร์เน็ตด้วย
****************ตัวอย่างการสมัครใช้บริการ e-mail ที่ http://www.thaimail.com/

การทำงานของระบบ e-mail นั้นถ้านำมาเปรียบเทียบกับระบบการรับส่งจดหมายในปัจจุบันจะพบว่ามีความคล้ายคลึงกันมาก แต่จะมีข้อดีกว่า คือสามารถรับส่งได้ตลอดเวลา, มีความรวดเร็ว, ส่งได้ถูกต้องแน่นอนถ้าไม่ใส่ที่อยู่ผิด
คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับบริการ e-mail
reply เป็นการตอบจดหมาย
forward เป็นการส่งจดหมายที่ได้รับต่อไปยังบุคคลอื่น
attachment เป็นการแนบไฟล์เพื่อส่งไปพร้อมกับ e-mail
inbox เป็นที่เก็บจดหมายที่เข้ามา ทั้งที่อ่านแล้วและยังไม่ได้อ่าน
trash เป็นถังขยะเก็บจดหมายที่ไม่ต้องการ
compose เป็นการสร้างจดหมายใหม่เพื่อเขียน
spam mail เป็นจดหมายที่สร้างความรำคาญ มักจะเป็นโฆษณา
junk mail เหมือนกับ spam
cc ย่อมาจาก carbon copy เป็นลักษณะการส่งจดหมาย สำเนาเรียน
bcc ย่อมาจาก background carbon copy เป็นการส่งจดหมายแบบสำเนาเรียนแต่ชื่อจะไม่ปรากฏให้เห็นในจดหมาย
to เป็นชื่อ e-mail ที่ต้องการส่งไปหา
subject เป็นหัวเรื่องของจดหมาย

บริการ FTP
File Transfer Protocol(FTP) คือบริการโอนย้ายไฟล์ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่ในระบบเครือข่าย การทำงานจะต้องอาศัยเครื่อง Server หรือเครื่องผู้ให้บริการและเครื่อง Client หรือเครื่องลูกข่ายที่ขอใช้บริการส่งหรือรับไฟล์ การใช้ FTP สามารถทำได้ในหลาย ๆ รูปแบบเช่น เป็นการแชร์ไฟล์ให้เพื่อน, ทำเป็นอัลบั้มภาพส่วนตัว, ดาวน์โหลดโปรแกรม, ทำ website, หรือจะส่งรูปภาพเข้าประกวดตามเว็บไซต์ต่าง ๆ ก็ได้ สามารถเรียกใช้งาน FTP ได้ผ่านทางโปรแกรมหลาย ๆ โปรแกรมดังนี้ WS-FTP, Cute FTP, FTP, ฯลฯ

บริการ IRC
คือบริการพูดคุยภายในห้องสนทนาทั้งแบบกลุ่มและแบบตัวต่อตัวโดยใช้การพิมพ์โต้ตอบกัน IRC เป็นคำย่อของ Internet Relay Chat ภายในจะมีกลุ่มสนทนาเรื่องต่าง ๆ มากมายทั้งมีประโยชน์และไม่มีประโยชน์ โปรแกรมที่ใช้เรียกเข้าสู่การ Chat ที่ได้รับความนิยมก็มีหลายโปรแกรมด้วยกันทั้ง Pirch, MS-chat ฯลฯ แต่ละโปรแกรมก็จะมีคุณสมบัติและฟังก์ชันการทำงานที่แตกต่างกันออกไป

บริการ www (World Wide Web)
เป็นบริการที่ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว เนื่องจากติดต่อผู้ใช้ด้วย Hypertext ซึ่งเป็นเอกสารที่สามารถนำเสนอ ตัวอักษร, รูปภาพ, วีดีโอ, เสียง ฯลฯ และสามารถเชื่อมโยงเอกสาร       หลาย ๆ เอกสารเข้าด้วยกันด้วย Hyperlink การให้บริการจะให้บริการผ่าน โปรแกรมที่เรียกว่า Web browser ในระบบปฏิบัติการส่วนใหญ่จะให้โปรแกรม Web browser มาด้วยเช่น ระบบ windows จะให้โปรแกรม Internet Explorer(IE) มาด้วยแต่ก็มีโปรแกรมอื่น ๆ ที่สามารถใช้แทนโปรแกรม IE ได้เช่น โปรแกรม Netscape, Opera ฯลฯ การเรียกใช้โปรแกรม IE สามารถทำได้โดยเรียกใช้ที่ icon   เมื่อเรียกขึ้นมาจะมีหน้าต่างดังภาพ




ฟังก์ชันที่ใช้งานบ่อย ๆ สำหรับโปรแกรม Internet Explorer จะมีปุ่มดังนี้


ไปยังหน้า home ที่ตั้งไว้
โหลดหน้าเอกสารนี้ใหม่อีกครั้ง
หยุดการโหลดเอกสาร
 ไปเอกสารก่อนหน้าที่จะย้อนกลับมา
ย้อนกลับไปหน้าเอกสารที่เปิดไว้ก่อนหน้า

การเรียกใช้งาน www ผ่านโปรแกรม Internet Explorer
เมื่อต้องการเรียกใช้บริการ www นั้นจำเป็นจะต้องรู้ก่อนว่าผู้ให้บริการนั้นอยู่ที่ไหนโดยจะต้องรู้จักชื่อโดเมนหรือหมายเลข IP (ส่วนใหญ่จะเป็นชื่อโดเมน) อาจจะรู้จากสื่อใด ๆ ก็ได้เช่น วิทยุ,       โทรทัศน์, หนังสือ, วารสาร ฯลฯ เมื่อได้มาให้พิมพ์ชื่อโดเมนหรือหมายเลข IP ลงในช่อง Address
เช่นถ้าต้องการ จะเข้า website ของมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชียให้พิมพ์ http://www.eau.ac.th/ แล้วกด enter หรือ go ก็ได้แต่ความจริงแล้วจะต้องมีชื่อโปรโตคอลเช่น http นำหน้า ก่อนด้วยโดยรูปแบบเต็ม ๆ ของการเรียกใช้จะต้องมีดังนี้
ชื่อโปรโตคอล://ชื่อเครื่อง.ชื่อโดเมน:หมายเลขพอร์ต
เช่น การเรียก Website ของมหาวิทยาลัยแบบเต็ม ๆ จะต้องใช้ http://www.eau.ac.th/ แต่โปรแกรมปัจจุบันนั้นมีการอำนวยความสะดวกโดยมักจะต่อเติมชื่อโปรโตคอลกับหมายเลขพอร์ตให้เอง

การเรียกใช้บริการอื่น ๆ ผ่าน www
โดยปกติการให้บริการแบบ www นั้นจะเน้นให้บริการข้อมูลเพื่อแลกเปลี่ยนข่าวสารกันโดยใช้เอกสาร Hypertext หรือที่เรียกว่า HTML (Hypertext Markup Language) แต่ด้วยความเจริญก้าวหน้าทางด้านคอมพิวเตอร์และเทคนิคของนักคอมพิวเตอร์จึงได้ประยุกต์การให้บริการต่าง ๆ จากข้างต้น ให้มาอยู่ภายใต้บริการ www อีกทีโดยไม่ต้องใช้โปรแกรมอื่นใดอีก เพื่อให้ผู้ใช้งานรู้สึกสะดวกและคุ้นเคยเช่น บริการ e-mail ที่ hotmail.com หรือ thaimail.com, บริการ IRC ที่ website pantip.com หรือ hunsa.com

บริการทางด้านสารสนเทศอื่น ๆ

การจะค้นหาสิ่งที่เป็นความรู้ภายในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตอันกว้างใหญ่นั้นมีวิธีที่จะค้นพบได้ ด้วยเครื่องมือและบริการที่เตรียมไว้นอกจากข้างต้นแล้วยังมีอีก 2 บริการที่ค่อนข้างจะช่วยเหลือมากก็คือ Web board และ Search Engine ที่มีรูปแบบบริการที่ให้บริการผ่าน www เช่นกันโดยบริการนี้จะมีอยู่ทั่ว ๆ ไปตาม website ที่ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่ต้องการค้นหา

บริการ Web board
ก่อนที่อินเตอร์เน็ตจะเกิดขึ้นและมีการพัฒนา Web board ขึ้นมานั้น จะมีรูปแบบบริการที่เรียกว่า Bulletin board ให้บริการโดย BBS(Bulletin Board System) ที่ให้บริการแลกเปลี่ยนข่าวสารต่าง ๆ ภายในกลุ่มการให้บริการจะอาศัยเครื่องคอมพิวเตอร์กับโมเด็มและโทรศัพท์ ถ้าหากติดต่อเข้าไปที่ BBS ใดก็จะเหมือนกับต่อเข้าไปที่ Website แห่งหนึ่งทีเดียวแต่มีข้อเสียคือ มักจะจำกัดเวลาการใช้งาน เนื่องจากจะต้องใช้สายโทรศัพท์เส้นเดียวกันนั้นให้บริการแก่สมาชิกรายอื่น ๆ ด้วยทำให้ต้องแบ่งเวลาการใช้งานกันระหว่างสมาชิกด้วยกัน หลังจากที่มี Internet ระบบ BBS นั้นก็เริ่มที่จะลดบทบาทลงเนื่องจากรูปแบบการให้บริการผ่านอินเตอร์เน็ตนั้นสามารถทำได้ สะดวกกว่าและไม่มีการจำกัดเวลา โดยรูปแบบจะไม่ใช่บริการแบบ Bulletin Board แล้วแต่จะเปลี่ยนเป็นการให้บริการข่าวสารแบบ USENET ที่มีบริการข่าวภายในเรียกว่า NEWSGROUP หัวข้อข่าวที่มักจะมีการพูดคุยและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันนั้นมีทั้ง เรื่องเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์(ไม่มีได้ไง), เกี่ยวกับศิลปะ วัฒนธรรม, เกี่ยวกับสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ฯลฯ บริการ USENET เคยได้รับความนิยมมากเนื่องจากจะมีข่าวต่าง ๆ และความคิดเห็นที่น่าสนใจมากมายให้เลือกหาอ่านกัน แม้การให้บริการจะเป็นเพียงตัวอักษรเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่หลังจากนั้นไม่นานระบบกระดานข่าวที่มีรูปภาพและการใช้งานที่สะดวกกว่าที่เรียกว่า Webboard ก็เข้ามาแทนที่ แต่เนื้อหาและหัวข้อที่มีการสนทนาแลกเปลี่ยนกันภายใน Webboard มักจะเป็นหัวข้อเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เป็นส่วนใหญ่ ถ้าหากต้องการอ่านเกี่ยวกับเนื้อหาอื่น ๆ มักจะต้องหาจาก Website ที่นำเสนอเนื้อหาเรื่องราวเฉพาะเรื่อง


บริการ Search Engine และการค้นหาสารสนเทศในอินเตอร์เน็ต

เนื่องด้วยระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมีความกว้างใหญ่มาก สามารถที่จะเข้าถึงและเรียกใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ได้จากทั่วทุกแห่งที่มีเครือข่ายไปถึง ถ้าจะนำมาเปรียบเทียบกับระบบกระจายเสียงของวิทยุ หรือโทรทัศน์ก็จะเปรียบเสมือนสถานนีวิทยุหรือโทรทัศน์ที่มีจำนวนช่องไม่จำกัด เหตุนี้เองทำให้ปริมาณสารสนเทศที่มีอยู่ภายในอินเตอร์เน็ตมีมากมาย และเหตุจากความมากมายและความมีอิสระเสรีในการนำเสนอข่าวสารทำให้ ใครก็ตามสามารถจะนำเสนอข้อมูลหรือสารสนเทศใด ๆ ในอินเตอร์เน็ตได้อย่างไม่ยากเย็นนักจนทำให้ภายในอินเตอร์เน็ตนั้นไม่สามารถจำแนกประเภทของข้อมูลข่าวสารหรือสารสนเทศใด ๆ ได้อยู่กระจัดกระจายทั่ว ๆ ไปโดยไร้ระยะทางขวางกั้น เปรียบได้กับสังคมมนุษย์ปัจจุบันที่ต่างคนต่างนำเสนอข่าวสารต่าง ๆ ออกมาไม่มีการจัดระเบียบ แต่ในโลกแห่งความจริงนั้นปริมาณข้อมูลหรือสารสนเทศนั้นจะถูกจำกัดโดยระยะทางเป็นสำคัญ แต่ในโลกความจริงนั้น ถ้าหากมองไปที่หน่วยงานที่แคบลงเช่นมหาวิทยาลัย, หน่วยงานราชการ, โรงพยาบาล, โรงเรียน จะพบว่าแต่ละหน่วยงานนั้นได้มีระเบียบควบคุมการนำเสนอข่าวสารอยู่ทำให้สามารถจำกัดปริมาณข้อมูลได้ ในโลกของอินเตอร์เน็ตก็เช่นกันถ้าเข้าไปตามหน่วยงานที่เป็นทางการเช่นมหาวิทยาลัย, โรงพยาบาล, หน่วยงานของรัฐบาล ก็จะทำให้ได้ข้อมูลและสารสนเทศที่ค่อนข้างจะมีรูปแบบ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ง่ายกว่า แต่การจะเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ก็ยังถูกจำกัด เนื่องจากความไม่รู้จัก URL (Uniform Resource Locator) ตัวอย่างง่าย ๆ ถ้าให้นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เพิ่งมาเมืองไทยเป็นครั้งแรกเดินทางไปยังวัดพระแก้วโดยเป็นผู้บอกทางแท๊กซี่ที่ไม่รู้ทางเช่นกัน จะมีทางไปถึงจุดหมายได้อย่างไร ? ในอินเตอร์เน็ตนั้นการเดินทางไปยังจุดมุ่งหมายและค้นหาสิ่งที่ต้องการจะมีเครื่องมือและวิธีช่วยเหลือหลาย ๆ วิธีด้วยกันดังนี้ (ก่อนจะถึงส่วนถัดไปผู้เรียนควรจะเข้าใจความหมายของคำต่อไปนี้ก่อน : Web browser, Domain name, URL, Homepage, Website, www, Hypertext) จากเนื้อหาข้างต้นก่อน

การค้นหาโดยใช้ Search Engine : Search Engine คือรูปแบบการให้บริการค้นหาข้อมูล, สารสนเทศโดยอาศัยโปรแกรมค้นหาที่ผู้ให้บริการเตรียมไว้ รูปแบบการให้บริการในปัจจุบัน (.. 2544) มักจะติดต่อกับผู้ใช้ผ่าน Web browser ในรูปแบบของ Hypertext เป็นหลัก ลักษณะข้อมูลและสารสนเทศที่สามารถค้นหาได้จะมีตั้งแต่ เรื่องทั่ว ๆ ไป, รูปภาพ, วีดีโอ, เพลง, ข่าว, เรื่องเฉพาะกลุ่ม โดยอาศัยฐานข้อมูล (Database) ที่ผู้ให้บริการจัดเตรียมไว้แต่ก็ยังมี Search Engine บางชนิดที่ไม่จำเป็นต้องใช้ฐานข้อมูลด้วย ถ้าจัดแบ่ง Search Engine ตามขนาดฐานข้อมูล, รูปแบบการค้นหา, และขอบเขตการค้นหาจะแบ่งได้ดังนี้
1 . Search Engine : จะทำงานรวบรวมข้อมูลหน้าเวปไซต์ต่าง ๆ ที่ถูกสร้างขึ้นมาในอินเตอร์เน็ตเข้าไว้ในฐานข้อมูล โดยข้อมูลส่วนใหญ่ที่เก็บจะเป็นคำสำคัญ (เนื่องจากไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นสารสนเทศชนิดใด) ผู้ใช้บริการก็จะเข้ามาสืบค้นข้อมูลผ่านหน้าจอให้บริการ เมื่อพบก็จะคืนรายการเป็นดัชนีให้ผู้ใช้บริการทราบและสามารถเชื่อมโยงไปยังเวปไซต์ที่เกี่ยวข้องได้ เช่น www.Altavista.com, www.google.com เป็นต้น
2. Web Directory : จะให้บริการคล้ายกับสมุดโทรศัพท์หน้าเหลือง คือจะให้ผู้ที่ต้องการเผยแพร่ข้อมูลนำข้อมูลที่ต้องการเผยแพร่มาลงไว้ตามหมวดหมู่ที่กำหนด การค้นหาก็จะสามารถทำได้แบบเป็นหมวดหมู่ทำได้เร็วขึ้น ตัวอย่างเช่น www.yahoo.com เป็นต้น
3. Hybrid Search Engine : เป็นเครื่องมือค้นหาที่เป็นลูกผสมระหว่าง Search Engine กับ Web Directory ทำให้ได้ผลลัพธ์ที่หลากหลายมากขึ้น
4. META Search Engine : เป็น Search Engine ชนิดหนึ่งที่ไม่มีฐานข้อมูลเป็นของตัวเอง แต่จะเป็นผู้ที่ส่งข้อความที่ต้องการค้นหาไปยัง Search Engine ตัวอื่นหลาย ๆ ตัวพร้อมกันแล้วนำผลลัพธ์ที่ได้มาสรุปให้มีความกระชับทำให้ได้ผลลัพธ์ที่หลากหลาย โดยไม่จำเป็นจะต้องไปเสียเวลาค้นหาตาม Search Engine ทีละตัว เช่น www.ask.com
5. Specific Task Search Engine : เป็นซอฟต์แวร์หรือบริการที่ให้บริการค้นหาข้อมูลเฉพาะประเภทที่อยู่ในสภาวะจำกัดเท่านั้น เช่น http://www.amazon.com/ จะมีเครื่องมือสืบค้นหาหนังสือหรือสินค้าที่สามารถค้นหาได้เฉพาะในร้านของตนเองเท่านั้น, napster เป็นซอฟต์แวร์ที่ให้บริการค้นหาเพลง เฉพาะผู้ที่สมัครเป็นสมาชิกเท่านั้น, http://www.dejanews.com/ เป็นบริการค้นหาสารสนเทศจาก Newsgroups เท่านั้น

Search Engine ที่สามารถใช้บริการได้
สำหรับภาษาอังกฤษจะมี Search Engine อยู่หลาย ๆ ตัวด้วยกันแต่ตัวก็จะให้ผลลัพธ์ในการค้นหาแตกต่างกันเพราะฉะนั้นถ้าหากผลการค้นหาไม่ตรงความต้องการก็ลองเปลี่ยนเครื่องมือค้นหาดู โดย Search Engine ที่ได้รับความนิยมมีดังนี้

ตารางที่ 1 แสดงรายชื่อ Search Engine

<><><><><><><><><><><><><><><><><><>
Web Directory
Meta Search
--- ภาษาไทย ---


ตารางที่ 2 แสดงคุณสมบัติต่าง ๆ ของ Search Engine บางส่วน


ที่มา นิตยสาร Internet Magazine ฉบับที่ 57 March 2001

แนวทางการสืบค้นสารสนเทศจากระบบอินเตอร์เน็ตจากบริการต่าง ๆ

1.       การ Surfing เป็นการเปิดเว็บไซต์ที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับเรื่องที่ต้องการค้นหาแล้วอาศัยการรวบรวมข้อมูลทีละเล็กละน้อยสืบเสาะไปเรื่อย ๆ ผ่านไปทีละเว็บจนกระทั่งได้สิ่งที่ต้องการ การใช้วิธีนี้มักจะเริ่มต้นจาก Portal web หรือ Web Directory หรือที่เรียกว่า รวมลิ้งค์แล้วจึงไปขยายผลโดยเข้าไปหาข้อมูลทีละแห่ง ไปเรื่อย ๆ แต่วิธีการนี้จะค่อนข้างเสียเวลาและไม่มีความแน่นอนว่าจะได้ข้อมูล,สารสนเทศที่ต้องการจริง ๆ

2.       ถามจากผู้รู้ หรือผู้ใช้คนอื่น ๆ เนื่องจากภายในอินเตอร์เน็ตจะมีสังคมอีกรูปแบบหนึ่งที่สามารถแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นกันบนกระดานข่าว (Bulletin board) ที่ผู้ใช้สามารถเข้าไปแสดงความคิดเห็น, ตั้งคำถาม, ตอบคำถาม ซึ่งมีชื่อเรียกได้หลาย ๆ ชื่อได้แก่ Usenet, Newsgroups, Webbord, Chat เป็นต้น หรือแม้แต่การส่ง e-mail ไปถามอาจารย์ผู้รู้ทางด้านนี้โดยตรงเลย ก็ได้ ในกระดานข่าวจะมีการแบ่งแยกเรื่องที่สนทนากันออกเป็นหมวดหมู่ทำให้สามารถจำกัดการสืบค้นให้ตรงกับเรื่องที่ต้องการได้ง่ายขึ้น บางแห่งก็จำเป็นจะต้องสมัครสมาชิกก่อนเพื่อเป็นการกรองข้อมูลที่จะลงก่อนอีกด้วย

ย้อนไปหาคำถามชาวต่างชาติที่จะเดินทางไปสนามหลวงอีกครั้ง ถ้าหาก
ใช้การแก้ปัญหาแบบที่ 1     ก็จะเหมือนนักท่องเที่ยวท่านนั้นเดินเข้าไปในร้านหนังสือแล้วหยิบหนังสือนำเที่ยวประเทศไทยขึ้นมาฉบับหนึ่งภายในย่อมจะมีเรื่องที่เกี่ยวข้องสามารถไปถึงที่หมายได้รวดเร็ว
ใช้การแก้ปัญหาแบบที่ 2  แบบนี้นักท่องเที่ยวคนนี้คงจะมีเวลาว่างมาก เที่ยวค้นคว้าเรื่องราวจากที่ต่าง ๆ ไปเรื่อย ๆ จนรู้จักกว่าจะเจอสนามหลวงก็คงจะได้เรียนรู้ วัฒนธรรมประเพณีไทย, การคมนาคมแบบต่าง ๆ, นิสัยชาวไทย ฯลฯ อีกมากทีเดียว
ใช้การแก้ปัญหาแบบที่ 3 แบบนี้ก็คล้าย ๆ กับนักท่องเที่ยวคนนี้ถามตำรวจท่องเที่ยวหรือจ้างมัคคุเทศก์สักคนเพื่อนำทางไปยังจุดหมาย รวดเร็วตรงประเด็นที่ต้องการแน่นอน (ถ้าไม่โดนหลอกเสียก่อน)
ดังนั้นการค้นหาเส้นทางก็แล้วแต่ความสามารถ, เวลาแต่ละคนแต่ไม่ว่าทางไหนก็พาไปสู่จุดหมายได้เช่นกัน

เทคนิคการสืบค้นสารสนเทศโดยใช้ Search Engine
1.       อย่าค้นหาด้วย Search Engine เดียวเพราะว่าไม่มี Search Engine ใดที่จะมีฐานข้อมูลของทุกเว็บไซต์ทั่วโลก ดังนั้นถ้าค้นไม่เจอข้อมูลที่ต้องการให้ลองไปค้นหาที่ Search Engine อื่น [1]
2.       อ่านวิธีการค้นหา เพราะว่า Search Engine แต่ละตัวจะมีวิธีการค้นหาไม่เหมือนกันยิ่งเป็นการค้นหาแบบเฉพาะทางหรือแบบที่มีคำสั่งพิเศษด้วยแล้ว ถ้าสามารถอ่านวิธีการค้นหาได้ก็จะสามารถช่วยค้นหาได้เร็วขึ้นและได้ผลตามประสงค์ [1]
3.       ค้นหาด้วยคำเฉพาะ เพราะยิ่งใช้คำเฉพาะสำหรับค้นหาเท่าไร ผลลัพธ์ที่ได้ก็จะตรงตามเป้าหมายเท่านั้น เช่น แทนที่จะค้นเว็บไซต์สุนัขด้วยคำว่า dog ก็ให้ใส่พันธุ์ของสุนัขที่ต้องการลงไปด้วยอย่าง puddle dog หรือ boxer dog จะทำให้สามารถค้นหาได้ง่ายกว่า [1]
4.       ใช้คำทั่ว ๆ ไปค้นหา ถ้าค้นหาด้วยคำเฉพาะแล้วไม่มีผลการค้นหา เพราะคำเฉพาะบางคำที่เฉพาะเกินไปอาจจะไม่มีอยู่ในฐานข้อมูลก็ได้ [1]
5.       ใช้คำสั่ง Boolean ช่วยในการค้นหาถ้าต้องการค้นหาเว็บไซต์ด้วยการใช้คำหลาย ๆ คำผสมกันไป หรือเมื่อไม่ต้องการให้คำใดเข้ามาเกี่ยวข้องในการค้นหาก็สามารถกำหนดได้เช่นกัน [1]
6.       สารสนเทศที่มักพบบ่อยจะเป็นสารสนเทศที่เป็บของผู้ให้บริการเชิงพาณิชย์ ทำให้ต้องมีค่าใช้จ่ายเมื่อจะนำข้อมูลมาใช้ ดังนั้นจึงควรเลือกแหล่งข้อมูลจากแหล่งที่เหมาะสมเช่น จากมหาวิทยาลัย, ห้องสมุด, หรือจากองค์กรที่ไม่หวังผลกำไร สังเกตได้จากชื่อ Domain name ที่เรียกที่มักจะไม่ลงท้ายด้วย .com
7.       ถ้าจำเป็นจะต้องใช้เลือกค้นหาด้วยภาษาอื่น ๆ นอกเหนือจากภาษาอังกฤษ จะต้องเลือกใช้ Search Engine ที่สนับสนุนการค้นด้วยภาษานั้นด้วย เช่น Altavista และ Hotbot ที่สนับสนุนการค้นหาจากภาษาอื่น ๆ นอกเหนือจากภาษาอังกฤษ (ถ้าจะใช้ภาษาไทยต้องใช้ Search Engine ที่เป็นภาษาไทยเท่านั้น)
8.       ถ้าค้นหา(ภาษาไทย) แล้วไม่พบจาก Search Engine เลยให้ใช้วิธี Surfing หรือ การสอบถามจากผู้รู้บ้างเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นแนวทางส่วนหนึ่ง
9.       การค้นหาควรเริ่มจากที่ห้องสมุดในสถาบันก่อน เนื่องจากสามารถจำกัดขอบเขตการค้นหาได้ง่ายกว่า แล้วจึงค่อยขยายการค้นหาออกไปสู่อินเตอร์เน็ตหรือวิธีอื่น ๆ

การใช้คำสั่ง Boolean ในการช่วยค้นหาเบื้องต้น
1.       And ใช้ในการกำหนดเพื่อค้นหาด้วยคำมากกว่าสองคำขึ้นไปที่อยู่ในเว็บไซต์เดียวกันการใช้งานก็ให้พิมพ์ And ลงระหว่างคำสองคำหรือระหว่างทุกคำที่ต้องการค้นหา เช่น sea AND phuket เป็นต้น บาง Search Engine ก็ใช้เครื่องหมาย + แทนคำสั่ง AND เช่น sea +phuket
2.       Or ใช้ในการกำหนดเพื่อค้นหาคำอย่างน้อยหนึ่งคำที่กำหนดต้องอยู่ในเว็บไซต์ที่ค้นหา ด้วยการใช้คำสั่ง OR ที่ระหว่างคำเช่น phuket or songkla เป็นต้น
3.       AND NOT ใช้สำหรับค้นหาเว็บไซต์ที่มีคำแรก (หน้า AND) แต่ต้องไม่มีคำที่สอง (หลัง NOT) เช่น phuket AND NOT songkla เป็นต้น บาง Search Engine ใช้เครื่องหมาย แทนคำสั่ง AND NOT เช่น phuket –songkla เป็นต้น
4.       เครื่องหมาย “ ” ใช้สำหรับการค้นหาเว็บไซต์ที่มีคำที่กำหนดทั้งประโยค เช่น “Sunset at phuket” เป็นต้น
5.       เครื่องหมาย ( ) ใช้แบ่งคำสั่ง Boolean ออกเป็นส่วน ๆ เช่น kayak AND (gear OR equipment) ผลลัพธ์ที่ได้คือ เว็บไซต์ที่มีคำว่า kayak และคำว่า gear หรือคำว่า equipment หรือ ทั้ง gear และ equipment อยู่ด้วยเป็นต้น
6.       เครื่องหมาย * ใช้สำหรับค้นหาเว็บไซต์ที่มีส่วนหนึ่งของคำที่กำหนด และอาจจะตามด้วยตัวอักษรอื่นก็ได้ เช่น kayak* ผลลัพธ์ที่ได้เป็นไปได้ทั้งเว็บไซต์ที่มีคำว่า kayak, kayaks, kayaked, kayaking และอื่น ๆ
ตัวอย่างการใช้ Search Engine เพื่อสืบค้นสารสนเทศในระบบอินเตอร์เน็ต
กำหนดให้ เป็นผู้ที่ไม่มีความรู้ด้านการเลี้ยงบอนไซมาก่อนแต่ต้องการอยากจะเลี้ยง ทำให้มีความต้องการข้อมูลเกี่ยวกับการเลี้ยงบอนไซในประเทศไทยและวิธีการเลี้ยง จะสามารถทำอย่างไรได้บ้างถ้ามีการสืบค้นจากอินเตอร์เน็ตเป็นทางเลือกทางเดียว
1.       ก่อนอื่นขอแนะนำให้ไปที่ห้องสมุดก่อน เช่นขณะนี้อยู่มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชียก็สืบค้นจาก Website ห้องสมุดถ้าไม่รู้ก็เข้าไปที่ http://www.eau.ac.th/ ก่อนไปที่ Service แล้วเว็บนี้ก็จะนำไปสู่ http://www.library.eau.ac.th/ แล้วเข้าไปที่หัวข้อ Online Catalog แล้วลองสืบค้นคำว่า bonzi หรือ บอนไซ (ควรจะรู้ข้อมูลบางอย่างเช่นชื่อบอนไซที่เขียนอย่างถูกต้องหรืออื่น ๆ บ้าง)



                           

2.       เมื่อลองพิมพ์ ทั้งคำว่า bonzi และ บอนไซดูแล้วปรากฏว่าไม่สามารถหาหนังสือที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ได้เลย
3.       ขั้นต่อไปลองไปเว็บท่า (Portal) ที่ดัง ๆ ในประเทศไทยเป็นอันดับถัดไป ในที่นี้จะขอไป Website : http://www.sanook.com/ แล้วลองใช้บริการค้นหา โดยพิมพ์คำว่า bonzi หรือ บอนไซ ลองผิดลองถูกไปก่อน แล้วก็นั่งรออย่างใจเย็น


4.       เมื่อใช้คำว่า บอนไซทำให้สามารถค้นหาเจอ Website 2 แห่งด้วยกัน

5.       เมื่อเปิดไปทั้ง 2 แห่งถ้าหากได้ข้อมูลที่พอใจแล้วก็เป็นอันเสร็จสิ้นการค้นหา เนื่องจากเมื่อเปิดไปแล้วจะพบกับการ link ไปยังเว็บไซต์ต่างประเทศหลายแห่งน่าสนใจ ถ้าต้องการข้อมูลมากกว่านี้ก็ต้องค้นหาต่อไป จนกว่าจะเจอข้อมูลที่ถูกใจ
6.       อย่าลืมฝึกภาษาอังกฤษให้แข็งแรง ไปพร้อม ๆ กับการเริ่มใช้อินเตอร์เน็ตด้วยเนื่องจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักที่ใช้สำหรับการสื่อสารกันในโลกอินเตอร์เน็ต

การกำหนดให้ ต้องการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับภาพยนตร์ เรื่องราว ต่าง ๆ เกี่ยวกับนิยายเรื่อง Starwar episode II จะต้องทำอย่างไร
1.       เมื่อปัญหาคือนิยาย หรือ ภาพยนตร์ที่เป็นของต่างชาติเพราะฉะนั้นจำเป็นจะต้องใช้เครื่องมือค้นหาที่เป็นภาษาอังกฤษแล้ว แต่ก่อนอื่น Starwar เป็นภาพยนตร์ที่ดังมากน่าจะมี Website ที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับเรื่องนี้มากมายและมีชื่อง่าย ๆ ก่อนอื่นให้ลองดูว่ามี Website : http://www.starwar.com/ หรือไม่ก่อน ปรากฏว่ามีดังภาพ


การกำหนดให้ ค้นหาภาพการวางตัวอักษรลงบน keyboard ที่เป็นภาษาไทย
1.       ข้อนี้ค่อนข้างยาก ลองเปลี่ยนมาค้นหาด้วย Search Engine ดูบ้างให้เข้าไปที่ Altavista.com (ไม่จำเป็นจะต้องเข้าไปที่นี่ก็ได้แล้วแต่ความคุ้นเคยหรือความชอบ หรือผลลัพธ์การค้นหาจะดีกว่า
2.       ให้ใช้คำว่า “keyboard layout” พิมพ์ลงไปในช่อง Search for: แล้วกดปุ่ม Search  จะได้ผลลัพธ์ดังนี้


3.       จะพบว่าผลลัพธ์ไม่ได้ตรงกับความต้องการเลย ให้ลองเปลี่ยนคำค้นหาเป็น “thai keyboard layout” แล้วค้นหาใหม่ จะเจอผลลัพธ์ที่ดีขึ้น
4.       ถ้าเข้าไปที่ www.dco.co.th/softward/layout.htm จะพบกับหน้าจอการจัดปุ่มต่าง ๆ บน keyboard ภาษาไทยได้

การระวังอันตรายที่จะเกิดจากอินเตอร์เน็ต
1.       ไม่ควรรับและเปิดไฟล์ที่มาจาก e-mail ที่ไม่รู้จัก
2.       ไม่ส่ง e-mail ไปรบกวนผู้อื่น
3.       รู้จักการอ่านข่าวหรือบทความเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์อยู่เสมอเพื่อพัฒนาความรู้
4.       ไม่เข้าไปล่วงเกินข้อมูลของเครื่องผู้อื่น
5.       ควรติดตั้งโปรแกรม Scan Virus ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้
6.       โปรแกรม Scan Virus ไม่ว่าจะใหม่ขนาดไหนก็ไม่อาจจะเจอไวรัสได้ทั้งหมด จะต้องหมั่นปรับปรุงข้อมูลไวรัสจาก Website ของผู้ผลิตโปรแกรมอยู่เสมอ
7.       อย่าไว้ใจผู้ที่พบเจอจากการสนทนาในห้องสนทนา (Chat) เนื่องจากผู้คนที่เข้าไปใช้มีมากมายหลายกลุ่ม อาจเป็นมิจฉาชีพก็ได้
8.       ควรให้ความสำคัญและแสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ส่งออกไปจากเครื่อง เช่น การ post ข้อความลงใน Webboard ควรจะเคารพสิทธิของผู้อื่น ถ้าเป็นเรื่องส่วนตัวควรใช้ e-mail จะเหมาะสมกว่า



แหล่งบริการสารสนเทศ

แหล่งที่ให้บริการ  โดยไม่คิดค่าบริการหรือเป็นหน่วยงานที่ให้ความรู้ฟรี

1       ด้านวิชาการ  มหาวิทยาลัยต่าง ,หน่วยงานของรัฐ กระทรวง ทบวงต่าง เป็นต้น
2       ด้านเศรษฐศาสตร์  ธนาคารต่าง เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย  บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย, ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์,  บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์,  ตลาดหลักทรัพย์เป็นต้น
3       ด้านวิทยาศาสตร์  กรมวิทยาศาสตร์บริการ,  มหาวิทยาลัยมหิดล,  กรมการแพทย์ เป็นต้น
แหล่งบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์ หรือเสียค่าใช้จ่ายในการใช้บริการ