อินเตอร์เน็ต
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ตและการสืบค้นสารนิเทศในระบบอินเตอร์เน็ต
อินเตอร์เน็ตคืออะไร
ความหมาย อินเตอร์เน็ตคือระบบเครือข่ายของข้อมูลและคอมพิวเตอร์ สาธารณะขนาดใหญ่ที่เกิดจากระบบเครือข่ายขนาดเล็ก ๆ หลาย ๆ เครือข่ายที่อาศัยมาตรฐานการเชื่อมต่อแบบเดียวกัน ต่อเชื่อมเข้าหากันเพื่อให้บริการข้อมูลแก่ผู้ใช้บริการ โดยไม่มีใครเป็นเจ้าของหรือผู้ดูแลอินเตอร์เน็ตแต่เพียงผู้เดียว อาสน์ทิพย์ ภิญโญยิ่ง (2544, 1-24)
ประวัติความเป็นมาของระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
จุดกำเนิดเริ่มแรกของอินเตอร์เน็ตนั้น เกิดขึ้นจากวัตถุประสงค์ทางการทหารและความมั่นคงของประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อให้สามารถเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าหากันแม้จะมีระบบที่แตกต่างกันและสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้แม้ว่าเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งในระบบที่ต่ออยู่จะไม่สามารถทำงานได้ และการพัฒนาการของระบบก็มีมาอย่างต่อเนื่องดังนี้
พ.ศ.2512 หน่วยงาน ARPA (Advance Research Project Agency) ซึ่งเป็นผู้ที่ดำเนินการวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ของสหรัฐ ได้ริเริ่มโครงการที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ มีชื่อโครงการว่า ARPANet ผู้ที่ทำโครงการนี้ก็คือผู้เชี่ยวชาญที่อยู่ในมหาวิทยาลัยที่ร่วมโครงการ ในระยะแรกใช้สายโทรศัพท์ในการต่อเชื่อมผ่านโปรโตคอล(Protocol) NCP (Network Control Protocol) และจำกัดจำนวนเครื่องที่สามารถต่อเข้าในระบบด้วย
พ.ศ.2514 มีการสร้างโปรแกรมรับส่ง e-mail เพื่อสื่อสารกันระหว่างระบบเครือข่ายต่าง ๆ
พ.ศ.2516 ARPANet ได้เชื่อมต่อไปยังประเทศ อังกฤษและนอร์เวย์
พ.ศ.2525 ARPANet เปลี่ยนจาก NCP มาเป็น TCP/IP (Transmission Control Protocol/ Internet Protocol)
พ.ศ.2527 มีการเริ่มใช้ระบบ DNS(Domain Name Server)
พ.ศ.2529 ก่อตั้ง NSFNET (National Science Foundation Network) มีความเร็ว 56 Kbps. เพื่อเชื่อมต่อเครื่อง supercomputer จากสถาบันต่าง ๆ เข้าด้วยกัน และได้ชื่อว่าเป็น backbone ที่สำคัญของระบบอินเตอร์เน็ต
พ.ศ.2530 หน่วยงาน Merit Network ได้เข้ามาเป็นผู้ดูแล NSFNET
พ.ศ.2532 NSFNET เพิ่มความเร็วเครือข่ายเป็น 1.544 Mbps จำนวนเครื่องที่เชื่อมต่อเข้าสู่อินเตอร์เน็ตก็เพิ่มขึ้นเป็น 100,000 เครื่อง
พ.ศ.2533 ARPANet หยุดดำเนินการ
พ.ศ.2534 มีการก่อตั้ง NERN (National Research and Education Network) จำนวนเครื่องที่ต่อเชื่อมเข้าสู่อินเตอร์เน็ตมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจาก 376,000 เครื่องในเดือนมกราคม เป็น 617,000 เครื่องในเดือน ตุลาคม
พ.ศ.2535 มีการเริ่มใช้ www ที่ CERN (the European Laboratory for Particle Physics) NSFNET เพิ่มความเร็วเป็น 44.736 Mbps จำนวนเครื่องที่ต่อเชื่อมเข้าสู่อินเตอร์เน็ตเพิ่มขึ้นถึง 1,000,000 เครื่อง
พ.ศ.2536 NSF ก่อตั้ง InterNIC เพื่อเป็นผู้ดำเนินการเรื่องการแจกจ่ายชื่อโดเมน บริษัทและผู้สนใจต่าง ๆ เริ่มเชื่อมต่อตัวเองเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ต
พ.ศ.2537 NCSC (National Center for Computing at University of Illinois ) สร้างโปรแกรม Mosaic เป็นโปรแกรม Web browser เริ่มมีการทำการค้าขายผ่านอินเตอร์เน็ต และ มีโปรแกรมที่ช่วยสำหรับค้นหาข้อมูลเกิดขึ้น
พ.ศ.2538 ยกเลิกโครงการ NSFNET และเปลี่ยนไปลงทุนกับโครงการ vBNS (Very-High-Speed Backbone Network Service) เพื่อเป็น backbone ให้แก่อินเตอร์เน็ตในอนาคต
พื้นฐานการทำงานของระบบอินเตอร์เน็ต
ระบบอินเตอร์เน็ตในปัจจุบันนั้นอาศัยโปรโตคอล TCP/IP เป็นหลัก สิ่งสำคัญที่ควรทราบเกี่ยวกับโปรโตคอล TCP/IP ก็คือ การต่อเชื่อมเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ใดเข้าสู่ระบบเครือข่ายที่เป็น TCP/IP นั้นทุกเครื่องจะต้องมีหมายเลขกำกับเสมอ เพื่อระบุแหล่งที่มาของข้อมูลหมายเลขที่กำกับนี้มีชื่อว่าหมายเลย IP หมายเลขนี้จะเป็นเลขฐาน 2 ขนาด 32 บิตสามารถเขียนได้เป็นเลขฐาน 2 จำนวน 4 ชุดแยกจากกันโดยใช้จุดคั่นเลขแต่ละชุดสามารถ สามารถเปลี่ยนได้ตั้งแต่ 0-255 เช่น 192.150.249.11, 64.4.43.7 เป็นต้น
11111111 | . | 11111111 | . | 11111111 | . | 111111112 |
255 | . | 255 | . | 255 | . | 255 |
จากหมายเลข IP ขนาด 32 บิตที่ใช้ในปัจจุบันทำให้สามารถมีจำนวนเครื่องที่เข้าใช้ ได้จำนวนหลายพันล้านเครื่องแล้วแต่จำนวนขนาดนี้ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการทำให้ต้องมีโครงการขยายหมายเลข IP ออกไปอีกในปัจจุบัน ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่ทุกเครื่องที่สามารถต่อเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ตได้ จะต้องมีหมายเลข IP ด้วยเสมอสามารถดูได้จากโปรแกรมที่เตรียมไว้ในเครื่อง เช่นในระบบ windows จะใช้คำสั่ง winipcfg สามารถเข้าไปที่ Start / Run / winipcfg แล้วกด ok จะมีหน้าต่างแสดงข้อมูลเกี่ยวกับหมายเลข IP ปรากฏขึ้นมาดังภาพ
ถ้าเป็นระบบอื่น ๆ ก็จะใช้คำสั่งที่แตกต่างกันไปสามารถตรวจสอบได้จากคู่มือที่มากับเครื่อง
ระบบ Domain Name
ระบบนี้สร้างขึ้นมาเพื่อนำชื่อที่สามารถจดจำได้ง่ายกว่าตัวเลข IP มาใช้ในการขอใช้ บริการ จากเครื่องต่าง ๆ ส่วนใหญ่เป็นบริการ แบบ world wide web คล้ายกับการที่ทางราชการกำหนดให้ประชาชนจะต้องทำบัตรประชาชน ในบัตรก็จะมีตัวเลขประจำตัวที่ยาวมาก ไม่ค่อยมีใครจดจำนักแต่มีชื่อและนามสกุลที่จำได้ง่ายกว่าเมื่อใช้เรียก ตัวอย่างเช่น
นาย สมชาย ใจดี มีหมายเลขประจำตัวผู้ถือบัตรเป็น 3 1101 02545 06 4 ถ้าหากเรียกหมายเลขตามบัตรย่อมเกิดความสับสนได้แน่นอนเพราะจำนวนหลักมีมากแต่ถ้าเรียกชื่อ และนามสกุลย่อมสามารถเข้าใจได้ง่ายกว่าแน่นอน ถ้าเป็น website จะแทนด้วย
http://www.hotmail.com/ แทนด้วย 64.4.54.7
http://www.eau.ac.th/ แทนด้วย 203.155.193.251
โดยโครงสร้างของชื่อโดเมนจะเป็นดังนี้ “ชื่อเครื่อง.ชื่อโดเมน”
การตั้งชื่อโดเมนเนมนั้นจะตั้งให้สามารถจดจำได้ง่ายโดยจะมีการแบ่งระดับชั้นดังนี้
ขั้นแรกจะแยกเป็นส่วนของสถานที่ตั้ง (Geographic Location) ส่วนใหญ่ใช้ชื่อประเทศเช่น
ประเทศไทย ใช้ th
ประเทศญี่ปุ่นใช้ jp
ประเทศไต้หวันใช้ tw
ประเทศฝรั่งเศลใช้ fr
ประเทศอังกฤษใช้ uk
ฯลฯ
แต่มีประเทศหนึ่งไม่จำเป็นจะต้องใช้สถานที่ตั้งบอกก็คือประเทศสหรัฐอเมริกา แต่จะใช้กลุ่มของสิ่งที่จะนำเสนอเป็นโดเมนระดับนี้เลย เช่น com(comercial), gov(government), net(network), org(organization), edu(education) แทนชื่อประเทศได้เลย แต่เนื่องจากชื่อโดเมนระดับบนสุดที่ลงท้ายด้วย com, org, net สามารถจดจำได้ง่ายทำให้ผู้ที่จดทะเบียนโดเมนจากประเทศอื่นนำชื่อเหล่านี้ไปใช้เพื่อให้สามารถจำได้ง่าย
ระดับถัดไปจะแยกเป็นประเภทของสิ่งที่นำเสนอว่าเป็นใด เช่นเป็น หน่วยงานทางธุรกิจ, ราชการ, เกี่ยวกับเครือข่าย, สถาบันการศึกษา ก็จะมีชื่อที่ใช้แทนแต่ละแบบดังเช่นที่ใช้ในประเทศไทยจะใช้ co(company), ac(academic), go(government), or(organization), in(individual) เป็นต้น
ระดับถัดไปก็จะเป็นชื่อโดเมนที่ผู้ใช้ต้องการจะจดทะเบียนอาจจะเป็นชื่อหน่วยงาน ชื่อบริษัท ชื่อบุคคลหรือคำใด ๆ ที่สื่อความหมายถึงเนื้อหาที่ให้บริการตัวอย่างเช่น
www | eau | ac | th |
สามารถอธิบาย ได้ดังนี้
www คือ ชื่อเครื่องโดยส่วนใหญ่จะเป็นชื่อนี้ถ้าเป็นเครื่องที่ให้บริการ World wide web
eau คือ ชื่อโดเมนที่ตั้งขึ้นเพื่อบอกถึงชื่อว่าคือมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
ac คือ ชื่อโดเมนที่บอกว่าเป็นสถาบันการศึกษา
th คือ ชื่อโดเมนระดับบนสุดบอกว่าเป็นประเทศไทย
www | bot | or | th |
สามารถอธิบาย ได้ดังนี้
www คือชื่อเครื่อง ตั้งเป็นชื่ออื่นได้แต่เพื่อให้ผู้ใช้บริการคุ้นเคย
bot คือชื่อโดเมนมาจากคำว่า Bank of Thailand เป็นคำย่อที่เป็นภาษาอังกฤษของหน่วยราชการไทยซึ่งมีอีกหลายแห่ง ต้องอาศัยการสืบค้นจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เพราะการแปลชื่อหน่วยงานให้เป็นภาษาอังกฤษโดยผู้ใช้อาจทำได้ไม่ตรงแล้วค้นหาไม่เจอก็ได้
or คือ หน่วยงาน องค์การอิสระ
th คือประเทศไทย
www | Thaimail | com |
สามารถอธิบายได้ดังนี้
www คือ ชื่อเครื่อง
thaimail คือ ชื่อโดเมน ที่สื่อความหมายถึงเป็นการให้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย
com คือ หน่วยงานทางธุรกิจ แต่ในที่นี้ไม่ได้ตั้งอยู่ในประเทศ สหรัฐอเมริกา เพียงแต่ใช้ .com เพราะว่าจำง่าย
Internet growth:
Date Hosts | Date Hosts Networks Domains
------ -------- + ----- --------- -------- ---------
12/69 4 | 07/89 130,000 650 3,900
06/70 9 | 10/89 159,000 837
10/70 11 | 10/90 313,000 2,063 9,300
12/70 13 | 01/91 376,000 2,338
04/71 23 | 07/91 535,000 3,086 16,000
10/72 31 | 10/91 617,000 3,556 18,000
01/73 35 | 01/92 727,000 4,526
06/74 62 | 04/92 890,000 5,291 20,000
03/77 111 | 07/92 992,000 6,569 16,300
12/79 188 | 10/92 1,136,000 7,505 18,100
08/81 213 | 01/93 1,313,000 8,258 21,000
05/82 235 | 04/93 1,486,000 9,722 22,000
08/83 562 | 07/93 1,776,000 13,767 26,000
10/84 1,024 | 10/93 2,056,000 16,533 28,000
10/85 1,961 | 01/94 2,217,000 20,539 30,000
02/86 2,308 | 07/94 3,212,000 25,210 46,000
11/86 5,089 | 10/94 3,864,000 37,022 56,000
12/87 28,174 | 01/95 4,852,000 39,410 71,000
07/88 33,000 | 07/95 6,642,000 61,538 120,000
10/88 56,000 | 01/96 9,472,000 93,671 240,000
01/89 80,000 | 07/96 12,881,000 134,365 488,000
| 01/97 16,146,000 828,000
| 07/97 19,540,000 1,301,000
*** see Note below ***
Hosts = a computer system with registered ip address (an A record)
Networks = registered class A/B/C addresses
Domains = registered domain name (with name server record)
Note: A more accurate survey mechanism was developed in 1/98; new and
some corrected numbers are shown below. For further info, see
Date Hosts | Date Hosts | Date Hosts
----- ----------- + ----- ----------- + ----- -----------
01/95 5,846,000 | 01/97 21,819,000 | 01/99 43,230,000
07/95 8,200,000 | 07/97 26,053,000 | 07/99 56,218,000
01/96 14,352,000 | 01/98 29,670,000 | 01/00 72,398,092
07/96 16,729,000 | 07/98 36,739,000 | 07/00 93,047,785
| 01/01 109,574,429
บริการต่าง ๆ ในอินเตอร์เน็ต
บริการที่มีในอินเตอร์เน็ตนั้นมีอยู่หลากหลาย มักจะเกี่ยวกับการสื่อสาร, การให้บริการข้อมูลเป็นหลัก รูปแบบการติดต่อกับผู้ใช้เท่านั้นที่มีการปรับเปลี่ยนจากที่มีแต่ตัวอักษรกับหน้านจอสีดำ (Terminal) ก็มีการพัฒนารูปแบบให้มีความน่าสนใจและใช้งานได้ง่ายเพิ่มขึ้น รูปแบบการให้บริการที่จะกล่าวถึงเป็นอันดับแรก เป็นบริการที่ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว และสามารถใช้งานได้ง่าย บริการนี้มีชื่อว่า www (World Wide Web)
บริการ E-mail (Electronic Mail) เป็นบริการรับ-ส่ง จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ภายในระบบอินเตอร์เน็ต การใช้งานผู้ใช้บริการจะต้องสมัครเป็นสมาชิกผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตหรือผู้ให้บริการอีเมล์ก่อนจึงจะสามารถใช้ได้ ถ้าสมัครกับใครก็จะได้ที่อยู่ของอีเมล์ไปอยู่ที่โดเมนเนมของผู้ให้บริการเช่นผู้ใช้บริการชื่อ “xxx” ใช้บริการอินเตอร์เน็ตของบริษัท “aaa” ที่มีชื่อโดเมนเนมเป็น “aaa.com” ถ้าหากบริษัท aaa มีการให้บริการอีเมล์ผู้ใช้บริการก็จะได้ใช้บริการอีเมล์ของบริษัท aaa ซึ่งอาจจะเป็นชื่อ “xxx@aaa.com” ถ้าหากชื่อ xxx นั้นไม่ซ้ำกับใครเป็นต้น รูปแบบของที่อยู่อีเมล์ (e-mail address) จะมีรูปแบบ ที่สามารถจำได้ง่าย ๆ ดังนี้
ชื่อผู้ใช้ @ ชื่อโดเมน หรือ ชื่อผู้ใช้ @ ชื่อเครื่อง.ชื่อโดเมน
การใช้บริการจากผู้ให้บริการเหล่านี้จะต้องใช้โปรแกรมเพื่อตรวจสอบจดหมายที่เข้ามาและอีเมล์นี้จะถูกยกเลิกเมื่อเลิกใช้บริการอินเตอร์เน็ตจากบริษัทนั้นด้วย แต่ถ้าหากใช้บริการจากผู้ให้บริการ e-mail ฟรีทั่ว ๆ ไปเช่น http://www.hotmail.com/, http://www.mail.yahoo.com/, www.mail.com, http://www.chaiyo.com/, http://www.thaimail.com/, http://www.thailand.com/ เป็นต้น จะสามารถเลือกชื่อผู้ใช้ที่ต้องการได้เองและไม่มีวันหมดอายุ เมื่อเลิกใช้บริการอินเตอร์เน็ตด้วย
****************ตัวอย่างการสมัครใช้บริการ e-mail ที่ http://www.thaimail.com/
การทำงานของระบบ e-mail นั้นถ้านำมาเปรียบเทียบกับระบบการรับส่งจดหมายในปัจจุบันจะพบว่ามีความคล้ายคลึงกันมาก แต่จะมีข้อดีกว่า คือสามารถรับส่งได้ตลอดเวลา, มีความรวดเร็ว, ส่งได้ถูกต้องแน่นอนถ้าไม่ใส่ที่อยู่ผิด
คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับบริการ e-mail
reply เป็นการตอบจดหมาย
forward เป็นการส่งจดหมายที่ได้รับต่อไปยังบุคคลอื่น
attachment เป็นการแนบไฟล์เพื่อส่งไปพร้อมกับ e-mail
inbox เป็นที่เก็บจดหมายที่เข้ามา ทั้งที่อ่านแล้วและยังไม่ได้อ่าน
trash เป็นถังขยะเก็บจดหมายที่ไม่ต้องการ
compose เป็นการสร้างจดหมายใหม่เพื่อเขียน
spam mail เป็นจดหมายที่สร้างความรำคาญ มักจะเป็นโฆษณา
junk mail เหมือนกับ spam
cc ย่อมาจาก carbon copy เป็นลักษณะการส่งจดหมาย “สำเนาเรียน”
bcc ย่อมาจาก background carbon copy เป็นการส่งจดหมายแบบสำเนาเรียนแต่ชื่อจะไม่ปรากฏให้เห็นในจดหมาย
to เป็นชื่อ e-mail ที่ต้องการส่งไปหา
subject เป็นหัวเรื่องของจดหมาย
บริการ FTP
File Transfer Protocol(FTP) คือบริการโอนย้ายไฟล์ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่ในระบบเครือข่าย การทำงานจะต้องอาศัยเครื่อง Server หรือเครื่องผู้ให้บริการและเครื่อง Client หรือเครื่องลูกข่ายที่ขอใช้บริการส่งหรือรับไฟล์ การใช้ FTP สามารถทำได้ในหลาย ๆ รูปแบบเช่น เป็นการแชร์ไฟล์ให้เพื่อน, ทำเป็นอัลบั้มภาพส่วนตัว, ดาวน์โหลดโปรแกรม, ทำ website, หรือจะส่งรูปภาพเข้าประกวดตามเว็บไซต์ต่าง ๆ ก็ได้ สามารถเรียกใช้งาน FTP ได้ผ่านทางโปรแกรมหลาย ๆ โปรแกรมดังนี้ WS-FTP, Cute FTP, FTP, ฯลฯ
บริการ IRC
คือบริการพูดคุยภายในห้องสนทนาทั้งแบบกลุ่มและแบบตัวต่อตัวโดยใช้การพิมพ์โต้ตอบกัน IRC เป็นคำย่อของ Internet Relay Chat ภายในจะมีกลุ่มสนทนาเรื่องต่าง ๆ มากมายทั้งมีประโยชน์และไม่มีประโยชน์ โปรแกรมที่ใช้เรียกเข้าสู่การ Chat ที่ได้รับความนิยมก็มีหลายโปรแกรมด้วยกันทั้ง Pirch, MS-chat ฯลฯ แต่ละโปรแกรมก็จะมีคุณสมบัติและฟังก์ชันการทำงานที่แตกต่างกันออกไป
บริการ www (World Wide Web)
เป็นบริการที่ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว เนื่องจากติดต่อผู้ใช้ด้วย Hypertext ซึ่งเป็นเอกสารที่สามารถนำเสนอ ตัวอักษร, รูปภาพ, วีดีโอ, เสียง ฯลฯ และสามารถเชื่อมโยงเอกสาร หลาย ๆ เอกสารเข้าด้วยกันด้วย Hyperlink การให้บริการจะให้บริการผ่าน โปรแกรมที่เรียกว่า Web browser ในระบบปฏิบัติการส่วนใหญ่จะให้โปรแกรม Web browser มาด้วยเช่น ระบบ windows จะให้โปรแกรม Internet Explorer(IE) มาด้วยแต่ก็มีโปรแกรมอื่น ๆ ที่สามารถใช้แทนโปรแกรม IE ได้เช่น โปรแกรม Netscape, Opera ฯลฯ การเรียกใช้โปรแกรม IE สามารถทำได้โดยเรียกใช้ที่ icon เมื่อเรียกขึ้นมาจะมีหน้าต่างดังภาพ
ฟังก์ชันที่ใช้งานบ่อย ๆ สำหรับโปรแกรม Internet Explorer จะมีปุ่มดังนี้
ไปยังหน้า home ที่ตั้งไว้
โหลดหน้าเอกสารนี้ใหม่อีกครั้ง
หยุดการโหลดเอกสาร
ไปเอกสารก่อนหน้าที่จะย้อนกลับมา
ย้อนกลับไปหน้าเอกสารที่เปิดไว้ก่อนหน้า
การเรียกใช้งาน www ผ่านโปรแกรม Internet Explorer
เมื่อต้องการเรียกใช้บริการ www นั้นจำเป็นจะต้องรู้ก่อนว่าผู้ให้บริการนั้นอยู่ที่ไหนโดยจะต้องรู้จักชื่อโดเมนหรือหมายเลข IP (ส่วนใหญ่จะเป็นชื่อโดเมน) อาจจะรู้จากสื่อใด ๆ ก็ได้เช่น วิทยุ, โทรทัศน์, หนังสือ, วารสาร ฯลฯ เมื่อได้มาให้พิมพ์ชื่อโดเมนหรือหมายเลข IP ลงในช่อง Address
เช่นถ้าต้องการ จะเข้า website ของมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชียให้พิมพ์ http://www.eau.ac.th/ แล้วกด enter หรือ go ก็ได้แต่ความจริงแล้วจะต้องมีชื่อโปรโตคอลเช่น http นำหน้า ก่อนด้วยโดยรูปแบบเต็ม ๆ ของการเรียกใช้จะต้องมีดังนี้
ชื่อโปรโตคอล://ชื่อเครื่อง.ชื่อโดเมน:หมายเลขพอร์ต
เช่น การเรียก Website ของมหาวิทยาลัยแบบเต็ม ๆ จะต้องใช้ http://www.eau.ac.th/ แต่โปรแกรมปัจจุบันนั้นมีการอำนวยความสะดวกโดยมักจะต่อเติมชื่อโปรโตคอลกับหมายเลขพอร์ตให้เอง
การเรียกใช้บริการอื่น ๆ ผ่าน www
โดยปกติการให้บริการแบบ www นั้นจะเน้นให้บริการข้อมูลเพื่อแลกเปลี่ยนข่าวสารกันโดยใช้เอกสาร Hypertext หรือที่เรียกว่า HTML (Hypertext Markup Language) แต่ด้วยความเจริญก้าวหน้าทางด้านคอมพิวเตอร์และเทคนิคของนักคอมพิวเตอร์จึงได้ประยุกต์การให้บริการต่าง ๆ จากข้างต้น ให้มาอยู่ภายใต้บริการ www อีกทีโดยไม่ต้องใช้โปรแกรมอื่นใดอีก เพื่อให้ผู้ใช้งานรู้สึกสะดวกและคุ้นเคยเช่น บริการ e-mail ที่ hotmail.com หรือ thaimail.com, บริการ IRC ที่ website pantip.com หรือ hunsa.com
บริการทางด้านสารสนเทศอื่น ๆ
การจะค้นหาสิ่งที่เป็นความรู้ภายในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตอันกว้างใหญ่นั้นมีวิธีที่จะค้นพบได้ ด้วยเครื่องมือและบริการที่เตรียมไว้นอกจากข้างต้นแล้วยังมีอีก 2 บริการที่ค่อนข้างจะช่วยเหลือมากก็คือ Web board และ Search Engine ที่มีรูปแบบบริการที่ให้บริการผ่าน www เช่นกันโดยบริการนี้จะมีอยู่ทั่ว ๆ ไปตาม website ที่ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่ต้องการค้นหา
บริการ Web board
ก่อนที่อินเตอร์เน็ตจะเกิดขึ้นและมีการพัฒนา Web board ขึ้นมานั้น จะมีรูปแบบบริการที่เรียกว่า Bulletin board ให้บริการโดย BBS(Bulletin Board System) ที่ให้บริการแลกเปลี่ยนข่าวสารต่าง ๆ ภายในกลุ่มการให้บริการจะอาศัยเครื่องคอมพิวเตอร์กับโมเด็มและโทรศัพท์ ถ้าหากติดต่อเข้าไปที่ BBS ใดก็จะเหมือนกับต่อเข้าไปที่ Website แห่งหนึ่งทีเดียวแต่มีข้อเสียคือ มักจะจำกัดเวลาการใช้งาน เนื่องจากจะต้องใช้สายโทรศัพท์เส้นเดียวกันนั้นให้บริการแก่สมาชิกรายอื่น ๆ ด้วยทำให้ต้องแบ่งเวลาการใช้งานกันระหว่างสมาชิกด้วยกัน หลังจากที่มี Internet ระบบ BBS นั้นก็เริ่มที่จะลดบทบาทลงเนื่องจากรูปแบบการให้บริการผ่านอินเตอร์เน็ตนั้นสามารถทำได้ สะดวกกว่าและไม่มีการจำกัดเวลา โดยรูปแบบจะไม่ใช่บริการแบบ Bulletin Board แล้วแต่จะเปลี่ยนเป็นการให้บริการข่าวสารแบบ USENET ที่มีบริการข่าวภายในเรียกว่า NEWSGROUP หัวข้อข่าวที่มักจะมีการพูดคุยและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันนั้นมีทั้ง เรื่องเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์(ไม่มีได้ไง), เกี่ยวกับศิลปะ วัฒนธรรม, เกี่ยวกับสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ฯลฯ บริการ USENET เคยได้รับความนิยมมากเนื่องจากจะมีข่าวต่าง ๆ และความคิดเห็นที่น่าสนใจมากมายให้เลือกหาอ่านกัน แม้การให้บริการจะเป็นเพียงตัวอักษรเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่หลังจากนั้นไม่นานระบบกระดานข่าวที่มีรูปภาพและการใช้งานที่สะดวกกว่าที่เรียกว่า Webboard ก็เข้ามาแทนที่ แต่เนื้อหาและหัวข้อที่มีการสนทนาแลกเปลี่ยนกันภายใน Webboard มักจะเป็นหัวข้อเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เป็นส่วนใหญ่ ถ้าหากต้องการอ่านเกี่ยวกับเนื้อหาอื่น ๆ มักจะต้องหาจาก Website ที่นำเสนอเนื้อหาเรื่องราวเฉพาะเรื่อง
บริการ Search Engine และการค้นหาสารสนเทศในอินเตอร์เน็ต
เนื่องด้วยระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมีความกว้างใหญ่มาก สามารถที่จะเข้าถึงและเรียกใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ได้จากทั่วทุกแห่งที่มีเครือข่ายไปถึง ถ้าจะนำมาเปรียบเทียบกับระบบกระจายเสียงของวิทยุ หรือโทรทัศน์ก็จะเปรียบเสมือนสถานนีวิทยุหรือโทรทัศน์ที่มีจำนวนช่องไม่จำกัด เหตุนี้เองทำให้ปริมาณสารสนเทศที่มีอยู่ภายในอินเตอร์เน็ตมีมากมาย และเหตุจากความมากมายและความมีอิสระเสรีในการนำเสนอข่าวสารทำให้ ใครก็ตามสามารถจะนำเสนอข้อมูลหรือสารสนเทศใด ๆ ในอินเตอร์เน็ตได้อย่างไม่ยากเย็นนักจนทำให้ภายในอินเตอร์เน็ตนั้นไม่สามารถจำแนกประเภทของข้อมูลข่าวสารหรือสารสนเทศใด ๆ ได้อยู่กระจัดกระจายทั่ว ๆ ไปโดยไร้ระยะทางขวางกั้น เปรียบได้กับสังคมมนุษย์ปัจจุบันที่ต่างคนต่างนำเสนอข่าวสารต่าง ๆ ออกมาไม่มีการจัดระเบียบ แต่ในโลกแห่งความจริงนั้นปริมาณข้อมูลหรือสารสนเทศนั้นจะถูกจำกัดโดยระยะทางเป็นสำคัญ แต่ในโลกความจริงนั้น ถ้าหากมองไปที่หน่วยงานที่แคบลงเช่นมหาวิทยาลัย, หน่วยงานราชการ, โรงพยาบาล, โรงเรียน จะพบว่าแต่ละหน่วยงานนั้นได้มีระเบียบควบคุมการนำเสนอข่าวสารอยู่ทำให้สามารถจำกัดปริมาณข้อมูลได้ ในโลกของอินเตอร์เน็ตก็เช่นกันถ้าเข้าไปตามหน่วยงานที่เป็นทางการเช่นมหาวิทยาลัย, โรงพยาบาล, หน่วยงานของรัฐบาล ก็จะทำให้ได้ข้อมูลและสารสนเทศที่ค่อนข้างจะมีรูปแบบ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ง่ายกว่า แต่การจะเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ก็ยังถูกจำกัด เนื่องจากความไม่รู้จัก URL (Uniform Resource Locator) ตัวอย่างง่าย ๆ ถ้าให้นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เพิ่งมาเมืองไทยเป็นครั้งแรกเดินทางไปยังวัดพระแก้วโดยเป็นผู้บอกทางแท๊กซี่ที่ไม่รู้ทางเช่นกัน จะมีทางไปถึงจุดหมายได้อย่างไร ? ในอินเตอร์เน็ตนั้นการเดินทางไปยังจุดมุ่งหมายและค้นหาสิ่งที่ต้องการจะมีเครื่องมือและวิธีช่วยเหลือหลาย ๆ วิธีด้วยกันดังนี้ (ก่อนจะถึงส่วนถัดไปผู้เรียนควรจะเข้าใจความหมายของคำต่อไปนี้ก่อน : Web browser, Domain name, URL, Homepage, Website, www, Hypertext) จากเนื้อหาข้างต้นก่อน
การค้นหาโดยใช้ Search Engine : Search Engine คือรูปแบบการให้บริการค้นหาข้อมูล, สารสนเทศโดยอาศัยโปรแกรมค้นหาที่ผู้ให้บริการเตรียมไว้ รูปแบบการให้บริการในปัจจุบัน (พ.ศ. 2544) มักจะติดต่อกับผู้ใช้ผ่าน Web browser ในรูปแบบของ Hypertext เป็นหลัก ลักษณะข้อมูลและสารสนเทศที่สามารถค้นหาได้จะมีตั้งแต่ เรื่องทั่ว ๆ ไป, รูปภาพ, วีดีโอ, เพลง, ข่าว, เรื่องเฉพาะกลุ่ม โดยอาศัยฐานข้อมูล (Database) ที่ผู้ให้บริการจัดเตรียมไว้แต่ก็ยังมี Search Engine บางชนิดที่ไม่จำเป็นต้องใช้ฐานข้อมูลด้วย ถ้าจัดแบ่ง Search Engine ตามขนาดฐานข้อมูล, รูปแบบการค้นหา, และขอบเขตการค้นหาจะแบ่งได้ดังนี้
1 . Search Engine : จะทำงานรวบรวมข้อมูลหน้าเวปไซต์ต่าง ๆ ที่ถูกสร้างขึ้นมาในอินเตอร์เน็ตเข้าไว้ในฐานข้อมูล โดยข้อมูลส่วนใหญ่ที่เก็บจะเป็นคำสำคัญ (เนื่องจากไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นสารสนเทศชนิดใด) ผู้ใช้บริการก็จะเข้ามาสืบค้นข้อมูลผ่านหน้าจอให้บริการ เมื่อพบก็จะคืนรายการเป็นดัชนีให้ผู้ใช้บริการทราบและสามารถเชื่อมโยงไปยังเวปไซต์ที่เกี่ยวข้องได้ เช่น www.Altavista.com, www.google.com เป็นต้น
2. Web Directory : จะให้บริการคล้ายกับสมุดโทรศัพท์หน้าเหลือง คือจะให้ผู้ที่ต้องการเผยแพร่ข้อมูลนำข้อมูลที่ต้องการเผยแพร่มาลงไว้ตามหมวดหมู่ที่กำหนด การค้นหาก็จะสามารถทำได้แบบเป็นหมวดหมู่ทำได้เร็วขึ้น ตัวอย่างเช่น www.yahoo.com เป็นต้น
3. Hybrid Search Engine : เป็นเครื่องมือค้นหาที่เป็นลูกผสมระหว่าง Search Engine กับ Web Directory ทำให้ได้ผลลัพธ์ที่หลากหลายมากขึ้น
4. META Search Engine : เป็น Search Engine ชนิดหนึ่งที่ไม่มีฐานข้อมูลเป็นของตัวเอง แต่จะเป็นผู้ที่ส่งข้อความที่ต้องการค้นหาไปยัง Search Engine ตัวอื่นหลาย ๆ ตัวพร้อมกันแล้วนำผลลัพธ์ที่ได้มาสรุปให้มีความกระชับทำให้ได้ผลลัพธ์ที่หลากหลาย โดยไม่จำเป็นจะต้องไปเสียเวลาค้นหาตาม Search Engine ทีละตัว เช่น www.ask.com
5. Specific Task Search Engine : เป็นซอฟต์แวร์หรือบริการที่ให้บริการค้นหาข้อมูลเฉพาะประเภทที่อยู่ในสภาวะจำกัดเท่านั้น เช่น http://www.amazon.com/ จะมีเครื่องมือสืบค้นหาหนังสือหรือสินค้าที่สามารถค้นหาได้เฉพาะในร้านของตนเองเท่านั้น, napster เป็นซอฟต์แวร์ที่ให้บริการค้นหาเพลง เฉพาะผู้ที่สมัครเป็นสมาชิกเท่านั้น, http://www.dejanews.com/ เป็นบริการค้นหาสารสนเทศจาก Newsgroups เท่านั้น
Search Engine ที่สามารถใช้บริการได้
สำหรับภาษาอังกฤษจะมี Search Engine อยู่หลาย ๆ ตัวด้วยกันแต่ตัวก็จะให้ผลลัพธ์ในการค้นหาแตกต่างกันเพราะฉะนั้นถ้าหากผลการค้นหาไม่ตรงความต้องการก็ลองเปลี่ยนเครื่องมือค้นหาดู โดย Search Engine ที่ได้รับความนิยมมีดังนี้
ตารางที่ 1 แสดงรายชื่อ Search Engine
<><><>>> > | Web Directory | <><><>>> >|
--- ภาษาไทย --- | <><><>>> ><><><>>> > | <><><>>>> |
ตารางที่ 2 แสดงคุณสมบัติต่าง ๆ ของ Search Engine บางส่วน
ที่มา นิตยสาร Internet Magazine ฉบับที่ 57 March 2001
แนวทางการสืบค้นสารสนเทศจากระบบอินเตอร์เน็ตจากบริการต่าง ๆ
1. การ Surfing เป็นการเปิดเว็บไซต์ที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับเรื่องที่ต้องการค้นหาแล้วอาศัยการรวบรวมข้อมูลทีละเล็กละน้อยสืบเสาะไปเรื่อย ๆ ผ่านไปทีละเว็บจนกระทั่งได้สิ่งที่ต้องการ การใช้วิธีนี้มักจะเริ่มต้นจาก Portal web หรือ Web Directory หรือที่เรียกว่า “รวมลิ้งค์” แล้วจึงไปขยายผลโดยเข้าไปหาข้อมูลทีละแห่ง ไปเรื่อย ๆ แต่วิธีการนี้จะค่อนข้างเสียเวลาและไม่มีความแน่นอนว่าจะได้ข้อมูล,สารสนเทศที่ต้องการจริง ๆ
2. ถามจากผู้รู้ หรือผู้ใช้คนอื่น ๆ เนื่องจากภายในอินเตอร์เน็ตจะมีสังคมอีกรูปแบบหนึ่งที่สามารถแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นกันบนกระดานข่าว (Bulletin board) ที่ผู้ใช้สามารถเข้าไปแสดงความคิดเห็น, ตั้งคำถาม, ตอบคำถาม ซึ่งมีชื่อเรียกได้หลาย ๆ ชื่อได้แก่ Usenet, Newsgroups, Webbord, Chat เป็นต้น หรือแม้แต่การส่ง e-mail ไปถามอาจารย์ผู้รู้ทางด้านนี้โดยตรงเลย ก็ได้ ในกระดานข่าวจะมีการแบ่งแยกเรื่องที่สนทนากันออกเป็นหมวดหมู่ทำให้สามารถจำกัดการสืบค้นให้ตรงกับเรื่องที่ต้องการได้ง่ายขึ้น บางแห่งก็จำเป็นจะต้องสมัครสมาชิกก่อนเพื่อเป็นการกรองข้อมูลที่จะลงก่อนอีกด้วย
ย้อนไปหาคำถามชาวต่างชาติที่จะเดินทางไปสนามหลวงอีกครั้ง ถ้าหาก
ใช้การแก้ปัญหาแบบที่ 1 ก็จะเหมือนนักท่องเที่ยวท่านนั้นเดินเข้าไปในร้านหนังสือแล้วหยิบหนังสือนำเที่ยวประเทศไทยขึ้นมาฉบับหนึ่งภายในย่อมจะมีเรื่องที่เกี่ยวข้องสามารถไปถึงที่หมายได้รวดเร็ว
ใช้การแก้ปัญหาแบบที่ 2 แบบนี้นักท่องเที่ยวคนนี้คงจะมีเวลาว่างมาก เที่ยวค้นคว้าเรื่องราวจากที่ต่าง ๆ ไปเรื่อย ๆ จนรู้จักกว่าจะเจอสนามหลวงก็คงจะได้เรียนรู้ วัฒนธรรมประเพณีไทย, การคมนาคมแบบต่าง ๆ, นิสัยชาวไทย ฯลฯ อีกมากทีเดียว
ใช้การแก้ปัญหาแบบที่ 3 แบบนี้ก็คล้าย ๆ กับนักท่องเที่ยวคนนี้ถามตำรวจท่องเที่ยวหรือจ้างมัคคุเทศก์สักคนเพื่อนำทางไปยังจุดหมาย รวดเร็วตรงประเด็นที่ต้องการแน่นอน (ถ้าไม่โดนหลอกเสียก่อน)
ดังนั้นการค้นหาเส้นทางก็แล้วแต่ความสามารถ, เวลาแต่ละคนแต่ไม่ว่าทางไหนก็พาไปสู่จุดหมายได้เช่นกัน
เทคนิคการสืบค้นสารสนเทศโดยใช้ Search Engine
1. อย่าค้นหาด้วย Search Engine เดียวเพราะว่าไม่มี Search Engine ใดที่จะมีฐานข้อมูลของทุกเว็บไซต์ทั่วโลก ดังนั้นถ้าค้นไม่เจอข้อมูลที่ต้องการให้ลองไปค้นหาที่ Search Engine อื่น [1]
2. อ่านวิธีการค้นหา เพราะว่า Search Engine แต่ละตัวจะมีวิธีการค้นหาไม่เหมือนกันยิ่งเป็นการค้นหาแบบเฉพาะทางหรือแบบที่มีคำสั่งพิเศษด้วยแล้ว ถ้าสามารถอ่านวิธีการค้นหาได้ก็จะสามารถช่วยค้นหาได้เร็วขึ้นและได้ผลตามประสงค์ [1]
3. ค้นหาด้วยคำเฉพาะ เพราะยิ่งใช้คำเฉพาะสำหรับค้นหาเท่าไร ผลลัพธ์ที่ได้ก็จะตรงตามเป้าหมายเท่านั้น เช่น แทนที่จะค้นเว็บไซต์สุนัขด้วยคำว่า dog ก็ให้ใส่พันธุ์ของสุนัขที่ต้องการลงไปด้วยอย่าง puddle dog หรือ boxer dog จะทำให้สามารถค้นหาได้ง่ายกว่า [1]
4. ใช้คำทั่ว ๆ ไปค้นหา ถ้าค้นหาด้วยคำเฉพาะแล้วไม่มีผลการค้นหา เพราะคำเฉพาะบางคำที่เฉพาะเกินไปอาจจะไม่มีอยู่ในฐานข้อมูลก็ได้ [1]
5. ใช้คำสั่ง Boolean ช่วยในการค้นหาถ้าต้องการค้นหาเว็บไซต์ด้วยการใช้คำหลาย ๆ คำผสมกันไป หรือเมื่อไม่ต้องการให้คำใดเข้ามาเกี่ยวข้องในการค้นหาก็สามารถกำหนดได้เช่นกัน [1]
6. สารสนเทศที่มักพบบ่อยจะเป็นสารสนเทศที่เป็บของผู้ให้บริการเชิงพาณิชย์ ทำให้ต้องมีค่าใช้จ่ายเมื่อจะนำข้อมูลมาใช้ ดังนั้นจึงควรเลือกแหล่งข้อมูลจากแหล่งที่เหมาะสมเช่น จากมหาวิทยาลัย, ห้องสมุด, หรือจากองค์กรที่ไม่หวังผลกำไร สังเกตได้จากชื่อ Domain name ที่เรียกที่มักจะไม่ลงท้ายด้วย .com
7. ถ้าจำเป็นจะต้องใช้เลือกค้นหาด้วยภาษาอื่น ๆ นอกเหนือจากภาษาอังกฤษ จะต้องเลือกใช้ Search Engine ที่สนับสนุนการค้นด้วยภาษานั้นด้วย เช่น Altavista และ Hotbot ที่สนับสนุนการค้นหาจากภาษาอื่น ๆ นอกเหนือจากภาษาอังกฤษ (ถ้าจะใช้ภาษาไทยต้องใช้ Search Engine ที่เป็นภาษาไทยเท่านั้น)
8. ถ้าค้นหา(ภาษาไทย) แล้วไม่พบจาก Search Engine เลยให้ใช้วิธี Surfing หรือ การสอบถามจากผู้รู้บ้างเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นแนวทางส่วนหนึ่ง
9. การค้นหาควรเริ่มจากที่ห้องสมุดในสถาบันก่อน เนื่องจากสามารถจำกัดขอบเขตการค้นหาได้ง่ายกว่า แล้วจึงค่อยขยายการค้นหาออกไปสู่อินเตอร์เน็ตหรือวิธีอื่น ๆ
การใช้คำสั่ง Boolean ในการช่วยค้นหาเบื้องต้น
1. And ใช้ในการกำหนดเพื่อค้นหาด้วยคำมากกว่าสองคำขึ้นไปที่อยู่ในเว็บไซต์เดียวกันการใช้งานก็ให้พิมพ์ And ลงระหว่างคำสองคำหรือระหว่างทุกคำที่ต้องการค้นหา เช่น sea AND phuket เป็นต้น บาง Search Engine ก็ใช้เครื่องหมาย + แทนคำสั่ง AND เช่น sea +phuket
2. Or ใช้ในการกำหนดเพื่อค้นหาคำอย่างน้อยหนึ่งคำที่กำหนดต้องอยู่ในเว็บไซต์ที่ค้นหา ด้วยการใช้คำสั่ง OR ที่ระหว่างคำเช่น phuket or songkla เป็นต้น
3. AND NOT ใช้สำหรับค้นหาเว็บไซต์ที่มีคำแรก (หน้า AND) แต่ต้องไม่มีคำที่สอง (หลัง NOT) เช่น phuket AND NOT songkla เป็นต้น บาง Search Engine ใช้เครื่องหมาย – แทนคำสั่ง AND NOT เช่น phuket –songkla เป็นต้น
4. เครื่องหมาย “ ” ใช้สำหรับการค้นหาเว็บไซต์ที่มีคำที่กำหนดทั้งประโยค เช่น “Sunset at phuket” เป็นต้น
5. เครื่องหมาย ( ) ใช้แบ่งคำสั่ง Boolean ออกเป็นส่วน ๆ เช่น kayak AND (gear OR equipment) ผลลัพธ์ที่ได้คือ เว็บไซต์ที่มีคำว่า kayak และคำว่า gear หรือคำว่า equipment หรือ ทั้ง gear และ equipment อยู่ด้วยเป็นต้น
6. เครื่องหมาย * ใช้สำหรับค้นหาเว็บไซต์ที่มีส่วนหนึ่งของคำที่กำหนด และอาจจะตามด้วยตัวอักษรอื่นก็ได้ เช่น kayak* ผลลัพธ์ที่ได้เป็นไปได้ทั้งเว็บไซต์ที่มีคำว่า kayak, kayaks, kayaked, kayaking และอื่น ๆ
ตัวอย่างการใช้ Search Engine เพื่อสืบค้นสารสนเทศในระบบอินเตอร์เน็ต
กำหนดให้ เป็นผู้ที่ไม่มีความรู้ด้านการเลี้ยงบอนไซมาก่อนแต่ต้องการอยากจะเลี้ยง ทำให้มีความต้องการข้อมูลเกี่ยวกับการเลี้ยงบอนไซในประเทศไทยและวิธีการเลี้ยง จะสามารถทำอย่างไรได้บ้างถ้ามีการสืบค้นจากอินเตอร์เน็ตเป็นทางเลือกทางเดียว
1. ก่อนอื่นขอแนะนำให้ไปที่ห้องสมุดก่อน เช่นขณะนี้อยู่มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชียก็สืบค้นจาก Website ห้องสมุดถ้าไม่รู้ก็เข้าไปที่ http://www.eau.ac.th/ ก่อนไปที่ Service แล้วเว็บนี้ก็จะนำไปสู่ http://www.library.eau.ac.th/ แล้วเข้าไปที่หัวข้อ Online Catalog แล้วลองสืบค้นคำว่า bonzi หรือ บอนไซ (ควรจะรู้ข้อมูลบางอย่างเช่นชื่อบอนไซที่เขียนอย่างถูกต้องหรืออื่น ๆ บ้าง)
2. เมื่อลองพิมพ์ ทั้งคำว่า bonzi และ บอนไซดูแล้วปรากฏว่าไม่สามารถหาหนังสือที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ได้เลย
3. ขั้นต่อไปลองไปเว็บท่า (Portal) ที่ดัง ๆ ในประเทศไทยเป็นอันดับถัดไป ในที่นี้จะขอไป Website : http://www.sanook.com/ แล้วลองใช้บริการค้นหา โดยพิมพ์คำว่า bonzi หรือ บอนไซ ลองผิดลองถูกไปก่อน แล้วก็นั่งรออย่างใจเย็น
4. เมื่อใช้คำว่า “บอนไซ” ทำให้สามารถค้นหาเจอ Website 2 แห่งด้วยกัน
5. เมื่อเปิดไปทั้ง 2 แห่งถ้าหากได้ข้อมูลที่พอใจแล้วก็เป็นอันเสร็จสิ้นการค้นหา เนื่องจากเมื่อเปิดไปแล้วจะพบกับการ link ไปยังเว็บไซต์ต่างประเทศหลายแห่งน่าสนใจ ถ้าต้องการข้อมูลมากกว่านี้ก็ต้องค้นหาต่อไป จนกว่าจะเจอข้อมูลที่ถูกใจ
6. อย่าลืมฝึกภาษาอังกฤษให้แข็งแรง ไปพร้อม ๆ กับการเริ่มใช้อินเตอร์เน็ตด้วยเนื่องจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักที่ใช้สำหรับการสื่อสารกันในโลกอินเตอร์เน็ต
การกำหนดให้ ต้องการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับภาพยนตร์ เรื่องราว ต่าง ๆ เกี่ยวกับนิยายเรื่อง Starwar episode II จะต้องทำอย่างไร
1. เมื่อปัญหาคือนิยาย หรือ ภาพยนตร์ที่เป็นของต่างชาติเพราะฉะนั้นจำเป็นจะต้องใช้เครื่องมือค้นหาที่เป็นภาษาอังกฤษแล้ว แต่ก่อนอื่น Starwar เป็นภาพยนตร์ที่ดังมากน่าจะมี Website ที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับเรื่องนี้มากมายและมีชื่อง่าย ๆ ก่อนอื่นให้ลองดูว่ามี Website : http://www.starwar.com/ หรือไม่ก่อน ปรากฏว่ามีดังภาพ
การกำหนดให้ ค้นหาภาพการวางตัวอักษรลงบน keyboard ที่เป็นภาษาไทย
1. ข้อนี้ค่อนข้างยาก ลองเปลี่ยนมาค้นหาด้วย Search Engine ดูบ้างให้เข้าไปที่ Altavista.com (ไม่จำเป็นจะต้องเข้าไปที่นี่ก็ได้แล้วแต่ความคุ้นเคยหรือความชอบ หรือผลลัพธ์การค้นหาจะดีกว่า
2. ให้ใช้คำว่า “keyboard layout” พิมพ์ลงไปในช่อง Search for: แล้วกดปุ่ม Search จะได้ผลลัพธ์ดังนี้
3. จะพบว่าผลลัพธ์ไม่ได้ตรงกับความต้องการเลย ให้ลองเปลี่ยนคำค้นหาเป็น “thai keyboard layout” แล้วค้นหาใหม่ จะเจอผลลัพธ์ที่ดีขึ้น
4. ถ้าเข้าไปที่ www.dco.co.th/softward/layout.htm จะพบกับหน้าจอการจัดปุ่มต่าง ๆ บน keyboard ภาษาไทยได้
การระวังอันตรายที่จะเกิดจากอินเตอร์เน็ต
1. ไม่ควรรับและเปิดไฟล์ที่มาจาก e-mail ที่ไม่รู้จัก
2. ไม่ส่ง e-mail ไปรบกวนผู้อื่น
3. รู้จักการอ่านข่าวหรือบทความเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์อยู่เสมอเพื่อพัฒนาความรู้
4. ไม่เข้าไปล่วงเกินข้อมูลของเครื่องผู้อื่น
5. ควรติดตั้งโปรแกรม Scan Virus ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้
6. โปรแกรม Scan Virus ไม่ว่าจะใหม่ขนาดไหนก็ไม่อาจจะเจอไวรัสได้ทั้งหมด จะต้องหมั่นปรับปรุงข้อมูลไวรัสจาก Website ของผู้ผลิตโปรแกรมอยู่เสมอ
7. อย่าไว้ใจผู้ที่พบเจอจากการสนทนาในห้องสนทนา (Chat) เนื่องจากผู้คนที่เข้าไปใช้มีมากมายหลายกลุ่ม อาจเป็นมิจฉาชีพก็ได้
8. ควรให้ความสำคัญและแสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ส่งออกไปจากเครื่อง เช่น การ post ข้อความลงใน Webboard ควรจะเคารพสิทธิของผู้อื่น ถ้าเป็นเรื่องส่วนตัวควรใช้ e-mail จะเหมาะสมกว่า
แหล่งบริการสารสนเทศ
แหล่งที่ให้บริการ โดยไม่คิดค่าบริการหรือเป็นหน่วยงานที่ให้ความรู้ฟรี
1 ด้านวิชาการ มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ,หน่วยงานของรัฐ กระทรวง ทบวงต่าง ๆ เป็นต้น
2 ด้านเศรษฐศาสตร์ ธนาคารต่าง ๆ เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย, ศูนย์วิจัยไทยพาณิชย์, บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์, ตลาดหลักทรัพย์เป็นต้น
3 ด้านวิทยาศาสตร์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ, มหาวิทยาลัยมหิดล, กรมการแพทย์ เป็นต้น
แหล่งบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์ หรือเสียค่าใช้จ่ายในการใช้บริการ