วันเสาร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เรื่องฮาร์ดแวร์

คอมพิวเตอร์ศึกษา การศึกษาเรื่อง ฮาร์ดแวร์ และความหมายของเทคโนโลยีที่เลือก

                    หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นโครงร่างสามารถมองเห็นด้วยตาและสัมผัสได้ (รูปธรรม) เช่น จอภาพ คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ เมาส์ เป็นต้น ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ตามลักษณะการทำงาน ได้ 4 หน่วย คือ หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU)  หน่วยแสดงผล (Output Unit) หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage) โดยอุปกรณ์แต่ละหน่วยมีหน้าที่การทำงานแตกต่างกัน  ดังภาพ











ประเภทของเทคโนโลยีที่เลือก   พร้อมกับประโยชน์  ข้อจำกัดและบทบาทของเทคโนโลยีที่เลือก
ส่วนรับข้อมูล (Input)

            เป็นอุปกรณ์รับเข้าทำหน้าที่รับโปรแกรมและข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์รับเข้าที่ใช้ กันเป็นส่วนใหญ่ คือ
1.คีย์บอร์ด


            เป็นอุปกรณ์รับเข้าพื้นฐานที่ต้องมีในคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะรับข้อมูลจากการกดแป้นแล้วทำการเปลี่ยนเป็นรหัสเพื่อ ส่งต่อไปให้กับคอมพิวเตอร์แป้นพิมพ์ที่ใช้ในการป้อนข้อมูลจะมีจำนวนตั้งแต่ 50 แป้นขึ้นไปแผงแป้นอักขระส่วนใหญ่ มีแป้นตัวเลขแยกไว้ต่างหากเพื่อทำให้การป้อนข้อมูลตัวเลขทำได้ง่ายและสะดวกขึ้นการวางตำแหน่งแป้นอักขระจะ เป็นไปตามมาตรฐานของระบบพิมพ์สัมผัสของเครื่องพิมพ์ดีดที่มีการใช้แป้นยกแคร่ (shift) เพื่อทำให้สามารถใช้พิมพ์ ได้ทั้งตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ ใหญ่และตัวพิมพ์เล็กซึ่งระบบรับรหัสตัวอักษรภาษาอังกฤษที่ใช้ ใน ทางคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะเป็นรหัส 7 หรือ 8 บิต กล่าวคือ เมื่อมีการกดแป้นพิมพ์แผงแป้นอักขระจะส่งรหัสขนาด 7 หรือ 8 บิต นี้เข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์เมื่อนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้งานพิมพ์ภาษาไทยจึงต้องมีการดัดแปลงแผง แป้นอักขระให้สามารถใช้งานได้ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทยกลุ่มแป้นที่ใช้พิมพ์ตัวอักษรภาษาไทยจะเป็นกลุ่มแป้น เดียวกับภาษาอังกฤษแต่จะใช้แป้นพิเศษแป้นหนึ่งทำหน้าที่สลับเปลี่ยนการพิมพ์ภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษภายใต้ การควบคุมของซอฟต์แวร์อีกชั้นหนึ่งแผงแป้นอักขระสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ตระกูลไอบีเอ็มที่ผลิตออามารุ่น แรกๆ ตั้งแต่ พ.ศ. 2524 จะเป็นแป้นรวมทั้งหมด 83 แป้นซึ่งเรียกว่าแผงแป้นอักขระพีซีเอ็กซ์ทีต่อมาในปี พ.ศ. 2527 บริษัท ไอบีเอ็มได้ ปรับปรุงแผงแป้นอักขระกำหนดสัญญาณทางไฟฟ้าของแป้นขึ้นใหม่จัดตำแหน่งและขนาดแป้นให้ เหมาะสมดียิ่งขึ้นโดยมีจำนวนแป้นรวม 84 แป้น เรียกว่า แผงแป้นอักขระพีซีเอทีและในเวลาต่อมาก็ได้ปรับปรุงแผง แป้นอักขระขึ้นพร้อมๆ กับการออกเครื่องรุ่น PS/2 โดยใช้สัญญาณทางไฟฟ้า เช่น เดียวกับแผงแป้นอักขระรุ่นเอทีเดิม และเพิ่มจำนวนแป้นอีก 17 แป้นรวมเป็น 101 แป้นการเลือกซื้อแผงแป้นอักขระควรพิจารณารุ่นใหม่ที่เป็นมาตรฐาน และสามารถใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่สำหรับเครื่องขนาดกระเป๋าหิ้วไม่ว่าจะเป็นแล็ปท็อปหรือโน้ตบุ๊คขนาด ของแผงแป้นอักขระยังไม่มีการกำหนดมาตรฐานเพราะผู้ผลิตต้องการพัฒนาให้เครื่องมีขนาดเล็กลงโดยลดจำนวนแป้น ลงแล้วใช้แป้นหลายแป้นพร้อมกันเพื่อทำงานได้เหมือนแป้นเดียว

2. เมาส์
 ซอฟต์แวร์รุ่นใหม่ที่พัฒนาในระยะหลังๆ นี้สามารถติดต่อกับผู้ใช้โดยการใช้รูปกราฟิกแทน คำสั่งมีการใช้งานเป็นช่วงหน้าต่างและเลือกรายการหรือคำสั่งด้วยภาพหรือสัญรูป (icon) อุปกรณ์รับ เข้าที่นิยมใช้จึงเป็นอุปกรณ์ประเภทตัวชี้ที่เรียกว่า เมาส์ เมาส์เป็นอุปกรณ์ที่ให้ความรู้สึกที่ดีต่อการ ใช้งานช่วยให้การใช้งานง่ายขึ้นด้วยการใช้เมาส์เลื่อนตัวชี้ไปยังตำแหน่งต่างๆ บนจอภาพในขณะที่ สายตาจับอยู่ที่จอภาพก็สามารถใช้มือลากเมาส์ไปมาได้ระยะทางและทิศทางของตัวชี้จะสัมพันธ์และ เป็นไปในแนวทางเดียวกับการเลื่อนเมาส์ เมาส์แบ่งได้เป็นสองแบบคือแบบทางกลและแบบใช้เแสง แบบทางกลเป็นแบบที่ใช้ลูกกลิ้งกลมที่มีน้ำหนักและแรงเสียดทานพอดีเมื่อเลื่อนเมาส์ไปในทิศ ทางใดจะทำให้ลูกกลิ้งเคลื่อนไปมาในทิศทางนั้นลูกกลิ้งจะทำให้กลไกซึ่งทำหน้าที่ปรับแกนหมุนใน แกน X และแกน Y แล้วส่งผลไปเลื่อนตำแหน่งตัวชี้บนจอภาพเมาส์แบบทางกลนี้มีโครงสร้างที่ออก แบบได้ง่ายมีรูปร่างพอเหมาะมือส่วนลูกกลิ้งจะต้องออกแบบให้กลิ้งได้ง่ายและไม่ลื่นไถลสามารถ ควบคุมความเร็วได้อย่างต่อเนื่องสัมพันธ์ระหว่างทางเดินของเมาส์และจอภาพเมาส์แบบใช้แสงอาศัย หลักการส่งแสงจากเมาส์ลงไปบนแผ่นรองเมาส์ (mouse pad)



3.หน่วยประมวลผลกลาง(Central Processing Unit : CPU)
              เปรียบเสมือนหัวใจของคอมพิวเตอร์หากไม่มีสิ่งนี้คอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถที่จะทำงานได้ในอดีตนั้น CPU จะมีความเร็วในการประมวลผลที่ช้ามากโดยเท่าที่ทราบนั้น CPU ที่เข้ามาแพร่หลายในเมืองไทยและเป็นที่นิยมกันมากในยุคแรกๆ ก็จะเป็น รุ่น 386,486,486sx และ 486Dx4 ซึ่งเป็นของบริษัท Intel โดยจะมีความเร็วในการประมวลผลไม่เกิน 75 MHz. ในยุคต่อมาได้เกิดบริษัทผู้ผลิต CPU ออกมาแข่งขันกันมากมายไม่ว่าจะเป็น Intel,Cyrix และ AMD ซึ่งในช่วงนั้นความเร็วในการประมวลผลประมาณ 75 - 233 MHz. ต่อมา CPU ก็ได้มีการพัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆ และบริษัทผู้ผลิตก็เหลือเพียง 2 บริษัทที่แข่งขันกัน ก็คือ Intel และ AMD ซึ่งทั้งสองบริษัทนี้ต่างพัฒนา CPU ออกมาแข่งขันกันมากมายหลายรุ่นรองรับการทำงานหลากหลายประเภท และปรับปรุงพัฒนาความเร็วในการประมวลผลในปัจจุบันถึง 3.2 GHz.( ที่มีขายในท้องตลาดปัจจุบัน ) และในอนาคตอันใกล้นี้ CPU ก็จะมีการพัฒนาจนถึง 4.4 GHz. ในปลายปี 2548 นี้
4.เมนบอร์ด (Mainboard)

            คือแผงวงจรหลักที่ใช้ในการเชื่อมต่อชิ้นส่วนต่างๆ ให้สามารถทำงานร่วมกันได้ โดยบนเมนบอร์ดนี้จะมีระบบควบคุมต่างๆ (Controller) ทั้งอุปกรณ์เชื่อมต่อและอุปกรณ์ต่างๆ ที่สำคัญบนเมนบอร์ด ไม่ว่าจะเป็นหน่วยความจำหลัก หน่วยความจำชั่วคราว รวมถึงระบบโอนถ่ายข้อมูลต่างๆ (Bus) ซึ่งในปัจจุบันได้มีการพัฒนาเมนบอร์ดให้รองรับ CPU รูปแบบใหม่ๆ รวมถึงอุปกรณ์ใหม่ๆ มากขึ้น โดยมีบริษัทที่แข่งขันกันผลิตเมนบอร์ดนั้นมีมากมาย แต่ที่เป็นที่นิยมและแพร่หลายกันในปัจจุบันได้แก่ ASUS , Gigabyte , Intel และ MSI ซึ่งแต่ละยี่ห้อก็ผลิตออกมาหลากหลายรุ่นให้เราได้เลือกใช้กันตามความเหมาะสม ซึ่งเราจะเลือกใช้รุ่นใดนั้นก็ต้องปรึกษาผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะเพื่อความเหมาะสมและประหยัดงบประมาณของเรามากที่สุด
5. หน่วยความจำ (Ram)

            หน่วยความจำ หรือที่เราเรียกกันง่ายๆ ว่า แรม คือหน่วยความจำหลักที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูลต่างๆ เพื่อส่งไปให้ CPU ทำการประมวลผล ซึ่งวิวัฒนาการของแรมนั้นก็ได้มีการพัฒนามาควบคู่กับ CPU โดยในอดีตนั้นก็จะเป็น SIMM RAM ต่อมาก็พัฒนามาเป็น EDO RAM , SD RAM , RD RAM จนในปัจจุบันเป็น DDR RAM ซึ่งการพัฒนานั้นนอกจากที่จะพัฒนาในเรื่องของรูปแบบของแรม ขนาดความจุแล้ว ยังมีการพัฒนาความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูลด้วย โดยในอดีตจะมีความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูลประมาณ 66 MHz จนถึง 667 MHz ในปัจจุบัน ( ที่มีขายในท้องตลาดบ้านเราจะมีความเร็วอยู่ที่ 400 MHz )

หน่วยประมวลผลกลาง ( Central Processing Unit)
            หน่วยประมวลผลกลางเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ซีพีย (Central Processing Unit : CPU) หน่วยประมวลผลกลางเป็นส่วนที่สำคัญของคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันเทคโนโลยีทางด้านการผลิตวงจรอิเล็กทรอนิกส์ได้ก้าวหน้ามากจนถึงขั้นสามารถผลิตวงจรหน่วยประมวลผลกลางทั้งวงจรไว้ในชิพเพียงตัวเดียวได้ ชิพหน่วยประมวลผลกลางนี้มีชื่อเรียกว่า ไมโครโพรเซสเซอร์  

 
                                                                                                                                ไมโครโพรเซสเซอร์
หน่วยประมวลผลกลางแบ่งออกเป็น 2 หน่วย คือ หน่วยควบคุม (control unit) และหน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic Logic Unit : ALU)
            * หน่วยควบคุม ทำหน้าที่ในการควบคุมลำดับการทำงานภายในหน่วยประมวลผล กลางระหว่างประมวลผล
            *หน่วยคำนวณและตรรกะ ทำหน้าที่นำข้อมูลซึ่งเป็นสัญญาณไฟฟ้าแบบตัวเลขฐานสองมาประมวลผลทางคณิตศาสตร์ และตรรกศาสตร์
                   การทำงานนี้จะเป็นไปตามคำสั่งในโปรแกรม     เริ่มด้วยหน่วยประมวลผลจะอ่านคำสั่งและข้อมูลต่างๆ จากหน่วยรับเข้าเก็บไว้ที่หน่วยความจำหลัก หลังจากนั้นหน่วยประมวลผลกลางจะอ่านคำสั่งจากหน่วยความจำทีละคำสั่งมาตีความหมายและกระทำตาม การกระทำดังกล่าวจะกระทำอย่างรวดเร็วมาก หน่วยประมวลผลกลางสามารถอ่านคำสั่งมาตีความหมายและกระทำตามได้หลายล้านคำสั่งต่อวินาที ด้วยประสิทธิภาพการทำงานที่รวดเร็วนี้เอง  ทำให้หน่วยประมวลผล กลางสามารถทำการประมวลผลได้มากและรวดเร็ว
                  พัฒนาการของหน่วยประมวลผลกลางได้เริ่มจากการให้หน่วยประมวลผลกลางอ่าน     ข้อมูลจากหน่วยความจำหลักด้วยรหัสเลขฐานสอง ครั้งละ 8 บิต เรียกซีพียูแบบนี้ว่าซีพียูขนาด 8 บิต ต่อมาเมื่อสร้างหน่วยประมวลผลกลางได้ดีขึ้นทำให้อ่านคำสั่งหรือข้อมูลเข้ามาได้ครั้งละ 16 บิต การประมวลผลก็กระทำครั้งละ 16 บิตด้วย เรียกซีพียูแบบนี้ว่าซีพียูขนาด 16 บิต ปัจจุบันซีพียูที่ใช้งานสามารถอ่านคำสั่ง หรือข้อมูลได้ถึงครั้งละ 128  บิต ทำให้ทำงานได้มากและรวดเร็วขึ้น
            กลไกการทำงานของซีพียูมีจังหวะการทำงานที่แน่นอนเช่น อ่านข้อมูลจากอุปกรณ์รับเข้าเก็บไว้ที่หน่วยความจำหลัก อ่านข้อมูลจากหน่วยความจำหลักแล้วนำมาตีความหมายคำสั่งในซีพียู ดำเนินการตามที่คำสั่งนั้นบอกให้กระทำ การกระทำเหล่านี้เป็นจังหวะที่แน่นอน การกำหนดความเร็วของจังหวะจะใช้สัญญาณนาฬิกาที่มีความเร็วสูงมาก ซีพียูรุ่นใหม่ๆ สามารถใช้สัญญาณนาฬิกาที่มีความเร็วได้สูงกว่า 2  กิกะเฮิรตซ์
วิวัฒนาการของไมโครโพรเซสเซอร์  
1.ไมโครโพรเซสเซอร์ 8086  เริ่มพัฒนาและนำออกมาใช้งานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523  เป็นซีพียูขนาด 16 บิต อย่างไรก็ดีบริษัทผู้ผลิตได้ผลิตซีพียูรุ่น 8088 ในเวลาต่อมา  และกลายเป็นซีพียูของไมโครคอมพิวเตอร์ ซีพียูรุ่นนี้มีโครงสร้างการทำงานที่ต่อเชื่อมกับหน่วยความจำหลักโดยตรงได้มากถึง 1  เมกะไบต์  หน่วยของหน่วยความจำ เป็นดังนี้

1 ไบต์   (byte)
1 กิโลไบต์ (kilobyte)
1 เมกะไบต์ (megabyte)
1 กิกะไบต์ (gigabyte)
เท่ากับ
เท่ากับ
เท่ากับ
เท่ากับ
8 บิต
1024 ไบต์
1024 กิโลไบต์
1024 เมกะไบต์

2.ไมโครโพรเซสเซอร์ 80286  เป็นพัฒนาการรุ่นต่อมาของ 8086  นำออกจำหน่ายในปี พ.ศ. 2526  ต่อมากลายเป็นซีพียูของเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ รุ่นเอที ขีดความสามารถของ 80286 ยังคงเป็นไมโครโพรเซสเซอร์ขนาด 16 บิต แต่สามารถเชื่อมต่อกับหน่วยความจำหลักได้โดยตรงถึง 16 เมกะไบต์  
3.ไมโครโพรเซสเซอร์ 80386  เป็นซีพียูรุ่นที่สามที่ใช้ในไมโครคอมพิวเตอร์ นำออกจำหน่ายในปี พ.ศ. 2529 ซีพียูรุ่นนี้เป็นซีพียูขนาด 32 บิต มีประสิทธิภาพการทำงานได้ดีกว่า 80286 มาก โดยเฉพาะโครงสร้างการเชื่อมต่อกับหน่วยความจำสามารถต่อได้ถึง 4 กิกะไบต์    
4.ไมโครโพรเซสเซอร์ 80486  พัฒนาต่อเนื่องมาจาก 80386  เริ่มผลิตออกจำหน่ายในปี พ.ศ. 2533 ซีพียูตัวนี้ยังคงเป็นซีพียูแบบ 80386  แต่เพิ่มขีดความสามารถในการคำนวณจำนวนจริง  ไมโครโพรเซสเซอร์นี้มีสถาปัตยกรรมที่ซับซ้อนขึ้น   มีจำนวนทรานซิสเตอร์กว่าหนึ่งล้านตัวในชิพเดียวกัน
5.ไมโครโพรเซสเซอร์ที่สูงกว่าไมโครโพรเซสเซอร์ 80486 บริษัทผู้ผลิตได้เปลี่ยนชื่อรุ่นซีพียูจากการใช้หมายเลขมาเป็นชื่อทางการค้า เช่น  เพนเตียม (pentium)   เอทรอน(athlon)  ซึ่งซีพียูนี้มีจำนวนทรานซิสเตอร์มากกว่าสามล้านตัวเป็นซีพียูขนาด 64 บิต  และทำงานได้เร็วกว่าไมโครโพรเซสเซอร์ 80486  โดยเฉพาะมีการทำงานภายในด้วยกระบวนการทำงานแบบขนานเพื่อให้ทำงานได้เร็วขึ้น
พัฒนาการของหน่วยประมวลผลกลางก้าวหน้าตลอดเวลา มีผู้ผลิตหน่วยประมวลผล กลางจากหลายบริษัท แต่ละบริษัทได้พัฒนาขีดความสามารถที่แตกต่างกัน ในอนาคตหน่วยประมวลผลกลางจะได้รับการพัฒนาให้มีขีดความสามารถสูงขึ้นอีกมาก  

ส่วนแสดงผล (Output)



เป็นอุปกรณ์ส่งออก (output device) ทำหน้าที่แสดงผลจากการประมวลผล โดยนำผลที่ได้ออกจากหน่วยความจำหลักแสดงให้ผู้ใช้ได้เห็นทางอุปกรณ์ส่งออก อุปกรณ์ส่งออกที่นิยมใช้ส่วนใหญ่คือ จอภาพ และเครื่องพิมพ์
1.จอภาพ (Moniter)

แสดงผลบนจอภาพเป็นเรื่องที่จำเป็นสำหรับการใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ วิวัฒนาการของการแสดงผลได้พัฒนาก้าวหน้าขึ้น มาตรฐานการแสดงผลที่ใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์มีพื้นฐานมาจากการพัฒนาของบริษัทไอบีเอ็ม ในยุคต้นความต้องการของการแสดงผลส่วนใหญ่ยังเป็นแบบตัวอักษรโดยมีภาวการณ์ทำงาน (mode) แยกจากการแสดง กราฟิก แต่ในปัจจุบันซอฟต์แวร์จำนวนมากสามารถแสดงผลในภาวะกราฟิก เช่น ระบบปฎิบัติงานวินโดวส์ ต้องใช้ภาวการณ์แสดงผลในรูปกราฟิกล้วน ๆ ผู้ใช้สามารถกำหนดขนาดช่องหน้าต่าง หรือการแสดงผลได้ตามที่ต้องการ จอภาพจึงเป็นส่วนสำคัญมากส่วนหนึ่งสำหรับผู้ใช้งานในยุคปัจจุบัน
ในยุคแรกตั้งแต่ พ.ศ. 2524 บริษัทไอบีเอ็มได้พัฒนาระบบการแสดงผลที่ใช้กับจอภาพสีเดียวที่เรียกว่าโมโนโครม หรือ เอ็มดีเอ (Monochrome Display Adapter : MDA) และแสดงผลได้เฉพาะภาวะตัวอักษรแต่เพียงอย่างเดียวแต่ให้ความละเอียดสูง หากต้องการแสดงผลในภาวะกราฟิกก็ต้องเลือกภาวะการแสดงผลอีกแบบหนึ่งที่เรียกว่า ซีจีเอ (Color Graphic Adapter : CGA) ที่สามารถแสดงสีและกราฟิกได้แต่ความละเอียดน้อย
เมื่อมีผู้ผลิตไมโครคอมพิวเตอร์ยี่ห้อต่าง ๆ ที่มีระบบการทำงานแบบเดียวกับคอมพิวเตอร์ของไอบีเอ็ม (IBM compatible) ไอบีเอ็มจึงต้องกำหนดมาตรฐานการแสดงผลไว้ ต่อมาบริษัทเฮอร์คิวลีส ซึ่งเห็นปัญหาของระบบการแสดงผลทั้งสองนี้ จึงออกแบบแผลวงจรแสดงผล เรียกกันติดปากว่าแผงวงจรเฮอร์คิวลิส (herculis card) หรือ เอชจีเอ (Herculis Graphic Adapter : HGA) บางครั้งเรียกว่าโมโนโครกราฟิกอะแดปเตอร์หรือเอ็มจีเอ (Monochrome Graphic Adapter : MGA) การแสดงผลแบบนี้เป็นที่แพร่หลายและนิยมใช้กันต่อเนื่องมาและมีผลิตขึ้นมาใช้กันมากมายต่อมาบริษัทไอบีเอ็มเห็นว่าความต้องการทางด้านกราฟิกสูงขึ้น การแสดงสีควรจะมีรายละเอียดและจำนวนสีมากขึ้น จึงได้พัฒนามาตรฐานการแสดงผลบนจอภาพขึ้นอีกโดยปรับปรุงจากเดิมเรียกว่า อีจีเอ (Enhance Graphic Adapter : EAG) การเพิ่มเติม

โดยปรับปรุงจากเดิมเรียกว่า อีจีเอ (Enhance Graphic Adapter : EAG) การเพิ่มเติมจำนวนสียังไม่พอเพียงกับซอฟต์แวร์ที่ได้รับการพัฒนาให้ใช้กับระบบปฎิบัติการวินโดวส์และโอเอสทูไอบีเอ็มจึงสร้างมาตรฐานการแสดงผลที่มีความละเอียดและสีเพิ่มยิ่งขึ้นเรียกว่า เอ็กซ์วีจีเอ (eXtra Video Graphic Array : XVGA)
การเลือกซื้อจอภาพจะตัองพิจารณาความสัมพันธ์ของจอภาพกับตัวปรับต่อซึ่งเป็นแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ติดตั้งอยู่บนแผงวงจรหลัก (main board) และต่อสัญญาณมายังจอภาพ แผงวงจรนี้จะเป็นตัวแสดงผลตามมาตรฐานที่ต้องการ มีภาวะการแสดงผลหลายแบบ เช่น
ก. แผงวงจรโมโนโครมหรือแผงวงจรเอ็มดีเอ เป็นแผงวงจรที่ไม่ค่อยนิยมใช้แล้วแสดงผลได้เฉพาะตัวอักษรจำนวน 25 บรรทัด บรรทัดละ 80 ตัวอักษร ขนาดความละเอียดของตัวอักษรเป็น 9x14 ชุด
ข. แผงวงจรเฮอร์คิวลิสหรือแผงวงจรเอชจีเอ แสดงผลเป็นตัวอักษรขนาด 25 บรรทัด บรรทัดละ 80 ตัวอักษร เหมือนแผงวงจรเอ็มดีเอ แต่สามารถแสดงกราฟิกแบบสีเดียวด้วยความละเอียด 720x348 จุด
ค. แผงวงจรอีจีเอ เป็นแผงวงจรที่แสดงด้วยความละเอียดของตัวอักษรขนาด 9x14 จุดแสดงสีได้ 16 สี ความละเอียดของการแสดงกราฟิก 640x350 จุด
ง. แผงวงจรวีจีเอ  เป็นแผงวงจรที่แสดงด้วย ความละเอียดของตัวอักษร 9x16 จุด แสดงสีได้ 16 สี แสดงกราฟิกด้วยความละเอียด 640x480 จุด และแสดงสีได้สูงถึง 256 สี
จ. แผงวงจรเอ็กซ์วีจีเอ  เป็นแผงวงจรที่ปรับปรุงจากแผงวงจรวีจีเอ แสดงกราฟิกด้วยความละเอียดสูงขึ้นเป็น 1,024x768 จุด และแสดงสีได้มากกว่า 256 สี
เมื่อได้ทราบว่าตัวปรับต่อมีกี่แบบแล้ว คราวนี้มาดูมาตรฐานตัวเชื่อมต่อ (connector) ของตัวปรับต่อกับจอภาพบ้าง ตัวเชื่อมต่อมาตรฐานที่ใช้มีแบบ 9 ขา ตัวเชื่อมต่อสำหรับแผงวงจรแบบ วีจีเอ และ เอสวีจีเอ เป็นแบบ 15 ขา การที่หัวต่อไม่เหมือนกันจึงทำให้ใช้จอภาพร่วมกันไม่ได้
นอกจากตัวเชื่อมต่อและตัวปรับต่อแล้ว คุณภาพของจอภาพก็จะต้องได้รับการพิจารณาอย่างมาก สัญญาณที่ส่งมายังจอภาพมีรูปแบบไม่เหมือนกัน สัญญาณของแผงวงจรแบบวีจีเอเป็นแบบแอนะล็อก สัญญาณของแผงวงจรแบบ เอ็มดีเอ ซีจีเอ เอชจีเอ อีจีเอ เป็นแบบดิจิทัล ข้อพิจารณาที่จะตรวจสอบด้วยตาเปล่าได้ คือ การแสดงผลจะต้องเป็นจุดเล็กละเอียดคมชัด ไม่เป็นภาพพร่าหรือเสมือนปรับโฟกัสไม่ชัดเจน  ภาพที่ได้จะต้องมีลักษณะของการกราดตามแนวตั้งคงที่ สังเกตได้จากขนาดตัวหนังสือแถวบน กับแถวกลางหรือแถวล่างต้องมีขนาดเท่ากันและคมชัดเหมือนกัน ภาพที่ปรากฏจะต้องไม่กระพริบถึงแม้จะปรับความเข้มของแสงเต็มภาพไม่สั่งไหวหรือพลิ้ว การแสดงของสีต้องไม่เพี้ยนจากสีที่ควรจะเป็น
พิจารณารายละเอียดทางเทคนิคของจอภาพ เช่น ขนาดของจอภาพซึ่งจะวัดตามแนวเส้นทะแยงมุมของจอ ว่าเป็นขนาดกี่นิ้ว โดยทั่วไปจะมีขนาด 14 นิ้ว จอภาพที่แสดงผลงานกราฟิกบางแบบอาจต้องใช้ขนาดใหญ่ถึง 20 นิ้ว ความละเอียดของจุดซึ่งสามารถสังเกตได้จากสัญญาณแถบความถี่ของจอภาพ จอภาพแบบวีจีเอควรมีสัญญาณแถบความถี่สูงกว่า 25 เมกะเฮิรตซ์ สัญญาณแถบความถี่ยิ่งสูงยิ่งดี จอภาพแบบเอ็กซ์วีจีเอแสดงผลแบบมัลติซิงค์ (multisync) ใช้สัญญาณแถบความถี่สูงกว่า 60 เมกะเฮิรตซ์ ขนาดของจุดยิ่งเล็กยิ่งมีความคมชัด เช่น ขนาดจุด .28 มิลลิเมตร ภาพที่ได้จะคมชัดกว่าขนาดจุด .33 มิลลิเมตร ค่าของสัญญาณแถบความถี่จึงเป็นข้อที่จะต้องพิจารณาด้วย
เป็นเทคโนโลยีที่เริ่มพัฒนาประมาณสิบกว่าปีนี้เอง เริ่มจากการพัฒนามาใช้กับนาฬิกาและเครื่องคิดเลข เป็นจอแสดงผลตัวเลขขนาดเล็ก ใช้หลักการปรับเปลี่ยนโมเลกุลของผลึกเหลว เพื่อปิดกั้นแสงเมื่อมีสนามไฟฟ้าเหนี่ยวนำ แอลซีดีจึงใช้กำลังไฟฟ้าต่ำ เหมาะกับภาคแสดงผลที่ใช้กับแบตเตอรี่หรือถ่านไฟฉายก้อนเล็ก ๆ แอลซีดีในยุคแรกตอบสนองต่อสัญญาณไฟฟ้าช้า จึงเหมาะกับงานแสดงผลตัวเลขยังไม่เหมาะที่จะนำมาทำเป็นจอภาพ เมื่อเทคโนโลยีก้าวหน้าขึ้น ผู้ผลิตแอลซีดีสามารถผลิตแผงแสดงผลที่มีขนาดใหญ่ขึ้นจนสามารถเป็นจอแสดงผลของคอมพิวเตอร์ประเภทแล็ปท็อป โน้ตบุ๊ค และยังสามารถทำให้แสดงผลเป็นสี อย่างไรก็ตามจอภาพแอลซีดียังเป็นจอภาพที่มีขนาดเล็กแต่มีแนวโน้มที่จะพัฒนาให้มีขนาดใหญ่ขึ้น จอภาพแอลซีดีที่แสดงผลเป็นสีต้องใช้เทคโนโลยีสูง มีการสร้างทรานซิสเตอร์เป็นล้านตัวเพื่อให้ควบคุมจุดสีบนแผ่นฟิล์มบาง ๆ ให้จุดสีเป็นตารางสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ การแสดงผลจึงเป็นการแสดงจุดสีเล็ก ๆ ที่ผสมกันเป็นสีต่าง ๆ ได้มากมาย การวางตัวของจุดสีดำเล็ก ๆ เรียกว่าแมทริกซ์ (matrix) จอภาพแอลซีดีจึงเป็นจอแสดงผลแบบตารางสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ที่มีจุดสีจำนวนมาก
จอภาพแอลซีดีเริ่มพัฒนามาจากเทคโนโลยีแบบพาสซีฟแมทริกซ์ที่ใช้เพียงแรงดันไฟฟ้าควบคุมการปิดเปิดแสงให้สะท้อนจุดสีมาเป็นแบบแอกตีฟเมตริกซ์ที่ใช้ทรานซิสเตอร์ตัวเล็ก ๆ เท่าจำนวนจุดสี ควบคุมการปิดเปิดจุดสีเพื่อให้แสงสะท้อนออกมาตามจุดที่ต้องการ ข้อเด่นของแอกตีฟแมทริกซ์คือมีมุมมองที่กว้างกว่าเดิมมาก การมองด้านข้างก็ยังเห็นภาพอย่างชัดเจน จอภาพแอลซีดีแบบแอกตีฟเมตริกซ์มีแนวโน้มที่เข้ามาแข่งขันกับจอภาพแบบซีอาร์ทีได้
จอภาพแบบแอลซีดีซึ่งมีลักษณะแบนราบจะมีขนาดเล็กและบาง เมื่อเปรียบเทียบกับจอภาพแบบซีแอลที หากจอภาพแบบแอกตีฟแมทริกซ์สามารถพัฒนาให้มีขนาดใหญ่กว่า 15 นิ้วได้ การนำมาใช้แทนจอภาพซีอาร์ที ก็จะมีหนทางมากขึ้น
ความสำเร็จของจอภาพแอลซีดีที่จะเข้ามาแข่งขันกับจอภาพแบบซีอาร์ที่อยู่ในเงื่อนไขสองประการ คือ จอภาพแอลดีซีมีราคาแพงกว่าจอภาพซีอาร์ที และมีขนาดจำกัด ในอนาคตแนวโน้มด้านราคาของจอภาพแอลซีดีจะลดลงได้อีกมาก และเทคโนโลยีสำหรับอนาคตมีโอกาสเป็นไปได้สูงมากที่จะทำให้จอภาพแอลซีดีขนาดใหญ่







เนื่องจากส่วนความจำหลักในเครื่องคอมพิวเตอร์ (Main Memory/Primary Storage) ที่ใช้บันทึกข้อมูลในขณะประมวลผลไม่สามารถรักษาข้อมูลไว้ได้หลังจากปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ดังนั้น การบันทึกข้อมูลลงบนหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง จึงมีความจำเป็นในอันที่จะรักษาข้อมูลไว้ใช้ในอนาคต และทำให้สามารถนำข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง เคลื่อนย้ายไปสู่เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นในระบบเดียวกันได้อีกด้วย


หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง แบ่งออกตามความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลได้ 2 ประเภท ดังนี้ หน่วยเก็บข้อมูลสำรองที่เข้าถึงข้อมูลได้โดยลำดับ (Sequential Access Storage) เป็นหน่วยเก็บข้อมูลสำรองที่ต้องมีการจัดเก็บและเรียกใช้ข้อมูลโดยการเรียงลำดับ การสืบค้นหรือเข้าถึงข้อมูลจึงล่าช้า เพราะต้องเป็นไปตามลำดับก่อนหลังของการบันทึก ซึ่งหน่วยเก็บข้อมูลประเภทนี้ ได้แก่ เทปแม่เหล็ก (Magnetic Tape) และ หน่วยเก็บข้อมูลสำรองที่เข้าถึงข้อมูลได้โดยตรง (Random/Direct Access Storage) เป็นหน่วยเก็บข้อมูลสำรองที่สามารถจัดเก็บและเรียกใช้ข้อมูลที่ต้องการได้โดยตรงโดยไม่ต้องอ่านเรียงลำดับ เหมาะกับงานที่ต้องอาศัยการประมวลผลแบบโต้ตอบ ที่ต้องการข้อมูลที่รวดเร็ว ซึ่งได้แก่ จานแม่เหล็ก (Magnetic Disk) ประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ฟลอปปี้ดิสก์ (Floppy Disk) ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) ซีดีรอม (CD-ROM) และ ดีวีดี (DVD) นั่นเอง
ตัวอย่างหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง ได้แก่
1.บัตรเจาะรู (Punched Card)บัตรเจาะรูเป็นหน่วยเก็บข้อมูลสำรองแบบดั่งเดิม มีลักษณะโครงสร้างเป็นบัตรกระดาษเจาะรูให้แสงลอดผ่าน เพื่อกำหนดสภาวะ 0 หรือ 1 (แสงลอดผ่าน คือ สภาวะ 1 และแสงลอดผ่านไม่ได้ คือ สภาวะ 0 ) บัตรเจาะรูนั้นเดิมเป็นบัตรโลหะ เริ่มใช้ครั้งแรกราวปี พ.ศ. 2344
ส่วนประกอบของข้อมูลที่บันทึกบนบัตรเจาะรู เรียกว่า อักขระ (Character) ประกอบด้วย ตัวอักษร (Alphabet) ตัวเลข (Numeric) และ ตัวอักษรอักขระพิเศษ (Special Character) บัตรเจาะรูแต่ละใบใช้บันทึกข้อมูลจำนวน 1 หน่วยแจงนับ เช่น บันทึกรายการ คน 1 คน, รถ 1 คัน หรือ สินค้า 1 ชิ้น เรียกว่า 1 Record ดังนั้น เครื่องจักรที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูลจากบัตรนี้ จึงเรียกว่า เครื่อง Uni-Record Machine (UNI แปลว่า หนึ่ง) จึงกล่าวได้ว่า จำนวนบัตรแต่ละใบ คือจำนวนของข้อมูล 1 รายการนั่นเอง
 

            นิยมใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีลักษณะเป็นสายเทปแบบม้วนเปลีอย (Open Reel) หรือแบบตลับ (Cassette) ตัวสายเทปทำด้วยพลาสติกชนิดพิเศษ เคลือบผิวด้วยออกไซด์ของโลหะ (Iron Oxide) และเคลือบอีกชั้นด้วยสารประกอบชนิดหนึ่ง เพื่อป้องกันการสึกหรอของสายเทปและช่วยให้เกิดจุดแม่เหล็ก (Magnetized Spot) ได้ง่ายขึ้น
พื้นผิวของสายเทปสามารถรองรับการอ่าน/บันทึกข้อมูลได้ประมาณ 20,000 – 50,000 ครั้ง (ขึ้นอยู่กับคุณภาพของเนื้อเทปและสารเคลือบ) ความจุข้อมูลของสายเทปพิจารณาจากจำนวนข้อมูลต่อความยาวของสายเทป 1 นิ้ว (Byte Per Inch : bpi) ซึ่งโดยทั่วไปมีความจุตั้งแต่ 5-28 MB (5-28 ล้านตัวอักษร)

ฟลอปปี้ดิสก์ หรือที่นิยมเรียกว่า ดิสก์เก็ต (Diskette) มีลักษณะเป็นแผ่นแม่เหล็กสีดำทรงกลม ทำจากแผ่นพลาสติกไมล่า เคลือบด้วยสารแม่เหล็ก บรรจุอยู่ในซองพลาสติกแข็งรูปสี่เหลี่ยม เพื่อป้องกันแผ่นดิสก์เก็ต จากฝุ่นละออง สิ่งสกปรก การขูดขีด และอื่นๆ
แผ่นดิสก์เก็ตมีอยู่ 2 ขนาด คือ ขนาด 3.50 นิ้ว กับขนาด 5.25 นิ้ว แผ่นดิสก์เก็ตที่นิยมใช้อยู่ในปัจจุบันจะเป็นขนาด 3.50 นิ้ว ซึ่งมีความจุในการเก็บข้อมูลเท่ากับ 1.44 MB สำหรับแผ่นดิสก์เก็ต ขนาด 5.25 นิ้วนั้นปัจจุบันไม่เป็นที่นิยม เพราะมีขนาดใหญ่ พกพาไม่สะดวก และมีความจุข้อมูล 1.2 MB ซึ่งน้อยกว่าแผ่น 3.50 นิ้ว
                                                
ที่มุมด้านหนึ่งของดิสก์เก็ตจะมีกลไกป้องกันการบันทึกข้อมูลลงไปทับข้อมูลเดิม (Write-protect) ซึ่งในแผ่นดิสก์เก็ต 5.25 นิ้ว จะทำเป็นรอยบาก ถ้ามีแถบปิดรอยบากนี้แผ่นนั้นก็จะบันทึกไม่ได้ ส่วนในแผ่นดิสก์เก็ต 3.5 นิ้ว จะใใช้สลักที่เลื่อนไปมาได้สำหรับปิดรูที่เจาะไว้ ถ้ารูที่เจาะไว้ถูกปิดก็จะบันทึกข้อมูลได้ แต่ถ้าเปิดเป็นช่องก็จะบันทึกไม่ได้ (ตรงข้ามกับแบบ 5.25 นิ้ว)
คอมพิวเตอร์สามารถอ่านข้อมูลจากแผ่นดิสก์เก็ต ได้ โดยการสอดแผ่นเข้าไปใน เครื่องขับดิสก์ หรือ ดิสก์ไดร์ฟ (Disk Drive) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับอ่านและเขียนข้อมูลลงบนแผ่นดิสก์เก็ต ซึ่งโดยปกติดิสก์ไดร์ฟจะถูกกำหนดให้เป็น ไดร์ฟ A: หรือ ไดร์ฟ B:

มีลักษณะเป็นจานแม่เหล็กหลายแผ่นวางซ้อนกัน โดยอาจมีจำนวนแผ่น 3-11 แผ่น ซึ่งจะไม่เรียกว่าดิสก์ แต่จะเรียกว่าแพลตเตอร์ (Platter) แทน ซึ่งแต่ละแพลตเตอร์จะสามารถเก็บข้อมูลได้ทั้งสองด้าน เนื่องจากแพลตเตอร์ผลิตจากสารจำพวกโลหะหรือแก้วบางชนิด จึงไม่สามารถงอไปงอมาได้เหมือนกับฟลอปปี้ดิสก์ ทำให้ต้องมีโลหะปิดไว้ทุกด้านเพื่อป้องกันการกระทบกระเทือน

            นอกจากนี้ฮาร์ดดิสก์ยังมีหัวอ่าน/บันทึกข้อมูลอยู่ภายในตัวเดียวกัน ไม่เหมือนกับแผ่นดิสก์เก็ตที่แยกออกจากกัน ทำให้สามารถอ่านและบันทึกข้อมูลได้ด้วยตนเอง และเนื่องจากฮาร์ดดิสก์มีแพลตเตอร์หลายๆ แผ่นซ้อนกันอยู่ ดังนั้นฮาร์ดดิสก์ตัวหนึ่งๆ จะมีหัวอ่านเขียนเท่ากับจำนวนแพลตเตอร์พอดี และหัวอ่านแต่ละหัวจะมีการเคลื่อนที่เข้าออกพร้อมกัน แต่เมื่อจะทำการอ่านหรือบันทึกข้อมูลลงบนฮาร์ดดิสก์ ก็จะมีเพียงหัวอ่าน 1 หัวเท่านั้น ที่จะทำการอ่านหรือบันทึกข้อมูล ด้วยเหตุนี้ฮาร์ดดิสก์จึงสามารถเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก แล้วแต่ความจุของแต่ละรุ่น เช่น ฮาร์ดดิสก์ความจุ 500 MB, 2.1 GB, 8.4 GB เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีความรวดเร็วต่อการเรียกใช้งานสูง โดยปกติจะกำหนดให้ฮาร์ดดิสก์เป็นไดร์ฟ C:

ซีดีรอม (CD-ROM : Compact Disk Read Only Memory) มีลักษณะเป็นแผ่นวงกลมคล้ายกับซีดีเพลง มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 12 เซนติเมตร (4 3/4 นิ้ว) ทำมาจากแผ่นโพลีคาร์บอเนต (Polycarbonate) ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากมีคุณลักษณะพิเศษหลายอย่าง และมีราคาที่ถูกลงมาก ซีดีรอมนี้ใช้หลักของแสงในการอ่าน/บันทึกข้อมูล เหมาะสำหรับข้อมูลที่ไม่ต้องการเปลี่ยนแปลง เพราะเมื่อทำการบันทึกข้อมูลลงไปแล้ว จะไม่สามารถนำกลับมาแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลใหม่ได้อีก ยกเว้นแต่จะใช้แผ่นลักษณะพิเศษที่สามารถลบและบันทึกใหม่ได้ แต่ก็มีราคาแพงกว่าและต้องใช้เฉพาะกับเครื่องอ่าน/บันทึกอีกแบบหนึ่ง ซึ่งต่างจากเครื่องอ่านซีดีรอมโดยทั่วๆ ไปด้วย
แผ่นซีดีรอมสามารถเก็บข้อมูลได้ถึง 680 MB หรือเก็บข้อมูลที่เป็นภาพและเสียงเช่น ภาพยนตร์หรือเพลงได้นานถึง 74 นาที ส่วนดีวีดี (Digital Video Disk) เป็นหน่วยเก็บข้อมูลสำรองอีกชนิดที่กำลังได้รับความนิยมมากเช่นกัน มีลักษณะคล้ายกับแผ่นซีดีรอม แต่สามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่าซีดีรอม 7 เท่าตัว (4.7 GB) และจะมีพัฒนาการต่อไป ปัจจุบันดีวีดีนิยมใช้ในการบันทึกภาพยนตร์และมัลติมีเดีย
ซีดีรอมและดีวีดีไม่สามารถทำงานได้ด้วยตนเอง จะต้องมีตัวอ่านข้อมูลเช่นเดียวกับแผ่นดิสก์เก็ต  อุปกรณ์ที่ใช้ในการอ่านข้อมูลจากซีดีรอม เรียกว่า ซีดีรอมไดร์ฟ (
CD-ROM Drive
)
ส่วนอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับอ่านดีวีดี เรียกว่า ดีวีดี ไดร์ฟ (
DVD Drive
) โดยที่ดีวีดีไดร์ฟ สามารถอ่านข้อมูลได้ทั้งแผ่นดีวีดี และจากแผ่นซีดีรอมได้ด้วย แต่ซีดีรอมไดร์ฟไม่สามารถอ่านข้อมูลจากแผ่นดีวีดีได้ โดยปกติจะกำหนดให้ซีดีรอมไดร์ฟ หรือ ดีวีดีไดร์ฟ เป็นไดร์ฟ D




ผลกระทบต่อการศึกษาและการเรียนการสอนอย่างไร

1.เทคโนโลยี ความเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์เป็นไปอย่างรวดเร็ว และตลอดเวลา ทำให้บุคลกรเกิดความกลัวที่ต้องเรียนรู้ ทำความเข้าใจในสิ่งใหม่ๆ บางคนปิดรับการเรียนรู้ กระทั่งต่อต้านการใช้เทคโนโลยีในระบบต่างๆ
2.เมื่อมีการพัฒนาระบบฮาร์ดแวร์เพื่อให้เหมาะกับการศึกษาจะสามารถทำให้ผู้เรียนประหยัดเวลาในการทำการศึกษาโดยการผ่านสื่อโดยเรียกว่า การศึกษาทางไกล
3.อาจจะมีอาการเจ็บป่วยจากการทำงาน เช่น มีอาการปวดหลัง ปวดไหล่ เกิดจาการนั่งอยู่ที่หน้าจอนานเกินไป อาจจะเป็นโรคประสาทบริเวณข้อมือถูกกดทับเป็นเวลานานๆ โดยเกิดจากการใช้คีย์บอร์ด หรือเมาส์ ผลกระทบนี้ทำให้สูญเสียเวลาของการเรียนและการสอนเพราะต้องใช้เวลาในการรักษาตัว

สรุป
     ในการพัฒนาระบบข่าวสารเพื่อการศึกษาชั้นสูง ผู้ศึกษาจะต้องพยายามกำหนดความต้องการข่าวสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับภารกิจในการวางแผน กำหนดนโยบาย เพื่อบรรลุเป้าหมายของ การศึกษาให้มากที่สุด จากนั้นจึงระบุแหล่งที่มาของข้อมูล ซึ่งอาจจะมาจากภายในหรือภายนอกการศึกษา แล้วจึงทำการพัฒนาระบบข้อมูล-ข่าวสารที่เกี่ยวข้อง ระบบฐานข้อมูลที่ได้จากการจัดทำการรวบรวมจะถูกประมวลผลเป็นสารสนเทศในท้ายสุด
     ระบบฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เป็นสิ่งที่ผู้พัฒนาระบบ ต้องตระหนักถึง โดยอยู่บนหลักพื้นฐานต่างๆ เช่น อำนวยความสะดวกต่อผู้ศึกษาในการเรียนรู้ เข้าใจ ใช้งานได้ด้วยตนเอง มีความคล่องตัวประสานงานกับผู้ศึกษาอื่นๆได้พร้อมๆกันไม่ว่าจะอยู่สถานที่หรือเวลาใด
     การเปลี่ยนแปลงผลการตัดสินใจของผู้ศึกษาให้เป็นรูปธรรม เช่น แปรเป็นแผนงาน มาตรการ โครงการฯลฯ สู่ผู้ปฏิบัติงาน การวัดผล/ตรวจสอบประสิทธิภาพการปฏิบัติตามแผนงานได้อย่าง สะดวก รวดเร็ว ล้วนเป็นเป้าหมายหลักๆ ของผู้ศึกษา ซึ่งระบบข่าวสารพึงมี ทั้งนี้เพื่อการธำรงไว้ การอยู่รอด และความเจริญรุ่งเรืองของศึกษา สืบไป

พื้นฐานคอมพิวเตอร์กราฟฟิก

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ

                คอมพิวเตอร์ (Computer) หมายถึง อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างหนึ่งที่สามารถรับโปรแกรมและข้อมูล ประมวลผล สื่อสารเคลื่อนย้ายข้อมูลและแสดงผลลัพธ์ได้
เทคโนโลยี (technology) หมายถึง การนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์หรือความรู้ด้านอื่น ๆ มาประยุกต์ใช้งานด้านใดด้านหนึ่งเพื่อใหงานนั้นมีความสามารถและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลที่ผ่านกระบวนการเก็บรวบรวม และเรียบเรียง ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้
                เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information technology : IT )  หมายถึง การนำเทคโนโลยีมาใช้งานที่เกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูลเพื่อให้ได้เป็นสารสนเทศ  เป็นเทคโนโลยีที่ใช้เป็นการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์กับเทคโนโลยีการสื่อสารเพื่อช่วยในการติดต่อสื่อสารและการส่งผ่านข้อมูลและสารสนเทศ ให้สะดวกรวดเร็วมากขึ้น

องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ  มีส่วนประกอบดังนี้

                1.  ฮาร์ดแวร์ (Hardware)  หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง เช่น แป้นพิมพ์ เมาส์ หน่วยประมวลผลกลาง จอภาพ เครื่องพิมพ์ และอุปกรณ์อื่น ๆ ฮาร์ดแวร์จะทำงานตามโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้น
                2.   ซอฟต์แวร์ (Software) บางครั้งเรียกว่าโปรแกรม หรือชุดคำสั่งวัตถุประสงค์หลักของซอฟต์แวร์ที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน คือการประมวลผลข้อมูล (Data) ให้เป็นสารสนเทศ (Information)
3.       เครือข่ายคอมพิวเตอร์และการติดต่อสื่อสาร (Computer network and communication)
4.  ข้อมูลและฐานข้อมูล (Data and database) ในการประมวลผลข้อมูล คอมพิวเตอร์จะประมวลผลตามข้อมูลที่ป้อนเข้าสู่หน่วยรับข้อมูล ดังนั้นข้อมูลจึงเป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในการประมวลผลเพื่อให้ได้สารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ

วงจรการทำงานของคอมพิวเตอร์

                ในการทำงานของคอมพิวเตอร์ จะมีขั้นตอนการทำงานพื้นฐาน 4 ขั้นตอน

                                1. รับข้อมูล (Input) คอมพิวเตอร์จะทำหน้าที่รับข้อมูลเพื่อนำไปประมวล อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ แป้นพิมพ์ (Keyboard) และเมาส์ (Mouse) เป็นต้น
                                2. ประมวลผล (Process) เมื่อคอมพิวเตอร์รับข้อมูลเข้าสู่ระบบแล้ว จะทำการประมวลผลตามโปรแกรมหรือคำสั่งที่กำหนด เช่น การคำนวณภาษี การคำนวณเกรดเฉลี่ย เป็นต้น
                                3. แสดงผล (Output) คอมพิวเตอร์จะแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากดการประมวลผลไปยังหน่วยแสดงผล อุปกรณ์ทำหน้าที่แสดงที่ใช้แพร่หลายในปัจจุบัน ได้แก่ จอภาพ (Monitor)และเครื่องพิมพ์ (Printer) เป็นต้น
                                4. จัดเก็บข้อมูล (Storage) คอมพิวเตอร์จะทำการจัดเก็บข้อมูลลงในอุปกรณ์เก็บข้อมูล เช่น ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk)แผ่นฟลอบปีดิสก์ (Floppy Disk)เป็นต้น

คุณสมบัติของคอมพิวเตอร์

เครื่องคอมพิวเตอร์ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้มีจุดเด่น 4 ประการ เพื่อทดแทนข้อจำกัดของมนุษย์ เรียกว่า 4 S special ดังนี้
1. หน่วยเก็บ (Storage)
หมายถึง ความสามารถในการเก็บข้อมูลจำนวนมากและเป็นเวลานาน นับเป็นจุดเด่นทางโครงสร้างและเป็นหัวใจของการทำงานแบบอัตโนมัติของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทั้งเป็นตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องด้วย
2. ความเร็ว (Speed)
หมายถึง ความสามารถในการประมวลผลข้อมูล (Processing Speed) โดยใช้เวลาน้อย เป็นจุดเด่นทางโครงสร้างที่ผู้ใช้ทั่วไปมีส่วนเกี่ยวข้องน้อยที่สุด เป็นตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สำคัญส่วนหนึ่งเช่นกัน
3. ความเป็นอัตโนมัติ (Self Acting)
หมายถึง ความสามารถในการประมวลผลข้อมูลตามลำดับขั้นตอนได้อย่างถูกต้องและต่อเนื่องอย่างอัตโนมัติ โดยมนุษย์มีส่วนเกี่ยวข้องเฉพาะในขั้นตอนการกำหนดโปรแกรมคำสั่งและข้อมูลก่อนการประมวลผลเท่านั้น
4. ความน่าเชื่อถือ (Sure)
หมายถึง ความสามารถในการประมวลผลให้เกิดผลลัพธ์ที่ถูกต้อง ความน่าเชื่อถือนับเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ความสามารถนี้เกี่ยวข้องกับโปรแกรมคำสั่งและข้อมูลที่มนุษย์กำหนดให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรง กล่าวคือ หากมนุษย์ป้อนข้อมูลที่ไม่ถูกต้องให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ย่อมได้ผลลัพธ์ที่ไม่ถูกต้องด้วยเช่นกัน
จากการที่คอมพิวเตอร์มีลักษณะเด่นหลายประการ ทำให้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตประจำวันในสังคมเป็นอย่างมาก ที่พบเห็นได้บ่อยที่สุดก็คือ การใช้ในการพิมพ์เอกสารต่าง ๆ เช่น พิมพ์จดหมาย รายงาน เอกสารต่าง ๆ ซึ่งเรียกว่างานประมวลผล ( word processing ) นอกจากนี้ยังมีการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในด้านต่างๆ อีกหลายด้าน ดังต่อไปนี้

1.       งานธุรกิจ เช่น บริษัท ร้านค้า ห้างสรรพสินค้า ตลอดจนโรงงานต่างๆ ใช้คอมพิวเตอร์ในการทำบัญชี งานประมวลคำ และติดต่อกับหน่วยงานภายนอกผ่านระบบโทรคมนาคม นอกจากนี้งาน   อุตสาหกรรม ส่วนใหญ่ก็ใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยในการควบคุมการผลิต และการประกอบชิ้นส่วนของอุปกรณ์ต่างๆ เช่น โรงงานประกอบรถยนต์ ซึ่งทำให้การผลิตมีคุณภาพดีขึ้นบริษัทยังสามารถ
รับ หรืองานธนาคาร ที่ให้บริการถอนเงินผ่านตู้ฝากถอนเงินอัตโนมัติ ( ATM ) และใช้คอมพิวเตอร์คิดดอกเบี้ยให้กับผู้ฝากเงิน และการโอนเงินระหว่างบัญชี เชื่อมโยงกันเป็นระบบเครือข่าย
2.       งานวิทยาศาสตร์ การแพทย์ และงานสาธารณสุข สามารถนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในนำมาใช้ในส่วนของการคำนวณที่ค่อนข้างซับซ้อน เช่น งานศึกษาโมเลกุลสารเคมี วิถีการโคจรของการส่งจรวดไปสู่อวกาศ หรืองานทะเบียน การเงิน สถิติ และเป็นอุปกรณ์สำหรับการตรวจรักษาโรคได้ ซึ่งจะให้ผลที่แม่นยำกว่าการตรวจด้วยวิธีเคมีแบบเดิม และให้การรักษาได้รวดเร็วขึ้น
3.       งานคมนาคมและสื่อสาร ในส่วนที่เกี่ยวกับการเดินทาง จะใช้คอมพิวเตอร์ในการจองวันเวลา ที่นั่ง ซึ่งมีการเชื่อมโยงไปยังทุกสถานีหรือทุกสายการบินได้ ทำให้สะดวกต่อผู้เดินทางที่ไม่ต้องเสียเวลารอ อีกทั้งยังใช้ในการควบคุมระบบการจราจร เช่น ไฟสัญญาณจราจร และ การจราจรทางอากาศ หรือในการสื่อสารก็ใช้ควบคุมวงโคจรของดาวเทียมเพื่อให้อยู่ในวงโคจร ซึ่งจะช่วยส่งผลต่อการส่งสัญญาณให้ระบบการสื่อสารมีความชัดเจน
4.       งานวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม สถาปนิกและวิศวกรสามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบ หรือ จำลองสภาวการณ์ ต่างๆ เช่น การรับแรงสั่นสะเทือนของอาคารเมื่อเกิดแผ่นดินไหว โดยคอมพิวเตอร์จะคำนวณและแสดงภาพสถานการณ์ใกล้เคียงความจริง รวมทั้งการใช้ควบคุมและติดตามความก้าวหน้าของโครงการต่างๆ เช่น คนงาน เครื่องมือ ผลการทำงาน
5.       งานราชการ เป็นหน่วยงานที่มีการใช้คอมพิวเตอร์มากที่สุด โดยมีการใช้หลายรูปแบบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบทบาทและหน้าที่ของหน่วยงานนั้นๆ เช่น กระทรวงศึกษาธิการ มีการใช้ระบบประชุมทางไกลผ่านคอมพิวเตอร์ , กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อเชื่อมโยงไปยังสถาบันต่างๆ , กรมสรรพากร ใช้จัดในการจัดเก็บภาษี บันทึกการเสียภาษี เป็นต้น
6.       การศึกษา ได้แก่ การใช้คอมพิวเตอร์ทางด้านการเรียนการสอน ซึ่งมีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยการสอนในลักษณะบทเรียน CAI หรืองานด้านทะเบียน ซึ่งทำให้สะดวกต่อการค้นหาข้อมูลนักเรียน การเก็บข้อมูลยืมและการส่งคืนหนังสือห้องสมุด

ประเภทของคอมพิวเตอร์

                1. ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Supercomputer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด และมีประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด สามาถประมวลผลคำสั่งได้ 100 ล้านคำสั่งต่อนาที เหมาะกับงานที่ต้องใช้ความละเอียด มีการคำนวณซับซ้อน และต้องการความถูกต้องแม่นยำ เช่น การพยากรณ์อากาศ การทดสอบทางอวกาศ  งานสื่อสารดาวเทียม งานวิจัยพลังงานนิวเคลียร์ งานวิจัยขีปนาวุธ  งานวิจัยวิทยาศาสตร์  เป็นต้น
2. เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe computer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพรองจากซูเปอร์คอมพิวเตอร์  สามารถรองรับการทำงานจากผู้ใช้ได้หลายร้อยคน ประมวลผลด้วยความเร็วสูง มีหน่วยความจำขนาดใหญ่ การจัดเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมากใช้กับองค์การขนาดใหญ่ เช่น งานธนาคาร การจองตั๋วเครื่องบิน การลงทะเบียนและการตรวจสอบผลการเรียนของนักศึกษา  งานสำมะโนประชากรของรัฐบาล  ประกันชีวิตเป็นต้น
                3. มินิคอมพิวเตอร์ (Minicomputer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานน้อยกว่าเมนเฟรมแต่สูงกว่าไมโครคอมพิวเตอร์ เหมาะกับงานที่มีข้อมูลจำนวนมาก สามารถรับรองการทำงานจากผู้ใช้ได้หลายคนในการทำงานที่แตกต่างกัน เช่น การคำนวณทางด้านวิศวกรรม ทำให้การพัฒนามินิคอมพิวเตอร์เจริญอย่างรวดเร็ว การจองห้องโรงแรม การทำงานด้านบัญชีขององค์การธุรกิจ เป็นต้น
4. ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer) เป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่มีผู้นิยมใช้แพร่หลายมาก ที่สุด มีขนาดเล็กและราคาถูก เคลื่อนย้ายได้สะดวก สามารถใช้งานโดยผู้ใช้คนเดียว (Stand alone)  เหมาะกับงาน Word Precessing, Speead sheet, Accorting จัดทำสิ่งพิมพ์   แบ่งได้ดังนี้
1.       แบบติดตั้งใช้งานอยู่กับที่บนโต๊ะทำงาน (Desktop Computer) 
2.       คอมพิวเตอร์ แล็ปท็อป (Notebook)  พกพาสะดวก
3.       คอมพิวเตอร์ แทปเลท (Tablet Computer) มีลักษณะคล้ายโน๊ตบุ๊ค แต่มีความแตกต่าง คือ สามารถป้อนข้อมูลทางจอภาพได้ (ใช้ปากกาชนิดพิเศษ)
4.       คอมพิวเตอร์ขนาดพกพา(Handheld Computer) มีขนาดเท่าฝ่ามือ เช่น  Palmtop, PDA (Personal Digital  Assistant)

รูปแบบการประมวลผลของคอมพิวเตอร์

                1. การประมวลผลส่วนบุคคล (Personal Computing : PC)   งานเกี่ยวกับการประมวลผลคำ, งานด้านกราฟฟิก ตารางจัดการ  การเขียนโปรแกรม
                2. การประมวลผลแบบรวมศูนย์ (Centralized  Computing) มีเครื่องแม่ข่ายเท่านั้น ที่ทำการประมวลผลและจัดเก็บข้อมูลทุกส่วน
                3. การประมวลผลแบบกระจาย (Distributed Computing)  คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องต้องเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่าย โดยมีเครื่องแม่ข่าย (Server) ทำการแจกจ่ายหน้าที่การทำงาน โดยเครื่องลูกข่ายมีความสามารถในการจัดเก็บและทำหน้าที่บางส่วนได้โดยไม่ต้องพึ่งพาเครื่องแม่ข่าย

โครงสร้างข้อมูล (Data Structure)
บิต (Bit) คือ ข้อมูลที่มีขนาดเล็กที่สุด เป็นข้อมูลที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจและนำไปใช้งานได้ ซึ่งได้แก่ เลข 0 หรือ เลข 1 เท่านั้น
ไบต์ (Byte) หรือ อักขระ (Character) ได้แก่ ตัวเลข หรือ ตัวอักษร หรือ สัญลักษณ์พิเศษ 1 ตัว เช่น 0, 1, …, 9, A, B, …, Z  และเครื่องหมายต่างๆ ซึ่ง 1 ไบต์จะเท่ากับ 8 บิต หรือ ตัวอักขระ 1 ตัว เป็นต้น
ฟิลด์ (Field) ได้แก่ ไบต์ หรือ อักขระตั้งแต่ 1 ตัวขึ้นไปรวมกันเป็นฟิลด์   เช่น เลขประจำตัว ชื่อพนักงาน เป็นต้น
เรคคอร์ด (Record) ได้แก่ ฟิลด์ตั้งแต่ 1 ฟิลด์ ขึ้นไป ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องรวมกันเป็นเรคคอร์ด เช่น ชื่อ นามสกุล เลขประจำตัว ยอดขาย ข้อมูลของพนักงาน 1 คน เป็น 1 เรคคอร์ด
ไฟล์ (Files) หรือ แฟ้มข้อมูล ได้แก่ เรคคอร์ดหลายๆ เรคคอร์ดรวมกัน ซึ่งเป็นเรื่องเดียวกัน
เช่น ข้อมูลของประวัติพนักงานแต่ละคนรวมกันทั้งหมดเป็นไฟล์หรือแฟ้มข้อมูลเกี่ยวกับประวัติพนักงานของบริษัท เป็นต้น
ฐานข้อมูล (Database) คือ การเก็บรวบรวมไฟล์ข้อมูลหลายๆ ไฟล์ที่เกี่ยวข้องกันมารวมเข้าด้วยกัน เช่น ไฟล์ข้อมูลของแผนกต่างๆ มารวมกันเป็นฐานข้อมูลของบริษัท เป็นต้น





การวัดขนาดข้อมูล
ในการพิจารณาว่าข้อมูลใดมีขนาดมากน้อยเพียงไร เรามีหน่วยในการวัดขนาดของข้อมูล
ดังต่อไปนี้

8 Bit
=
1 Byte
1,024 Byte
=
1 KB (กิโลไบต์)
1,024 KB
=
1 MB (เมกกะไบต์)
1,024 MB
=
1 GB (กิกะไบต์)
1,024 GB
=
1TB (เทระไบต์)

อินเตอร์เนตเบื้องต้น

อินเทอร์เนตคืออะไร

อินเทอร์เนต (Internet) คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก เกิดขึ้นจากระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เล็ก ๆ รวมกันเป็นระบบเครือข่ายใหญ่ เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูลกันทั่วโลก

อินเทอร์เนตเกิดขึ้นได้อย่างไร
รากฐานของอินเทอร์เนต เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 20 ปีมาแล้ว โดยเริ่มจากเครือข่าย ARPANET ของกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีความประสงค์ที่จะแลกเปลี่ยนข้อมูลวิจัยทางการทหาร หลักจากนั้นระบบเครือข่ายย่อยอื่น ๆ ก็ได้ทำการต่อเชื่อมและขยายแวดวงออกไปทั่วโลก ดังนั้นอินเทอร์เนตจึงไม่ได้เป็นของใครหรือของกลุ่มใดโดยเฉพาะ

อินเทอร์เนตทำอะไรได้บ้าง ?
เดิมทีการใช้บริการจำกัดให้ใช้ในด้านการศึกษาวิจัยและอยูในแวดวงการศึกษาเท่านั้น ต่อมาได้มีการขยายในเชิงธุรกิจมากขึ้น ทำให้ขอบข่ายการใช้ Internet มีมากมาย เช่น
1.       สามารถติดต่อกับคนได้ทั่วโลก
2.       สามารถใช้เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล , ความคิดเห็น
3.       สามารถใช้ช่วยในการค้นหาและโอนย้าย Software ต่าง ๆ มาได้ฟรี
4.       สามารถค้นคว้าวิจัย เปรียบเหมือนคุณเข้าห้องสมุดไปศึกษาค้นคว้าหนังสือต่าง ๆ โดยที่ตัวคนเองไม่ต้องไปยังห้องสมุดนั้น
5.       สามารถอ่านข่าวสารของกลุ่มสนทนาต่าง ๆ
6.       สามารถท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่าง ๆ ได้ทั่วโลก เช่น พิพิธภัณฑ์ , สวนสัตว์ เป็นต้น








บริการต่าง ๆ ของอินเทอร์เนต


1. ไปรษณีย์อิเลคทรอนิคส์ (Electronic Mail หรือ E-Mail)
เป็นบริการหนึ่งบนอินเทอร์เนตที่คนนิยมใช้กันมากคือส่งจดหมายโดยทางคอมพิวเตอร์ถึงผู้ที่มีบัญชีอินเทอร์เนต ด้วยกันไม่ว่าจะอยู่ใกล้หรือไกลคนละซีกโลกจดหมายก็จะไปถึงอย่างสะดวกรวดเร็วและง่ายดายโปรแกรมที่ใช้ ในการรับ-ส่งจดหมายอิเลคทรอนิคส์นั้นมี หลายโปรแกรมด้วยกันแล้วแต่จะเลือก ใช้ตาม ความ ชอบหรือความถนัด โปรแกรมที่พูดถึงก็เช่น Eudora, Pine, Netscape Mail, Micorsoft Explorer และอื่น ๆ อีกมากมาย เป็นต้น

2. World Wide Web (WWW)
เป็นการเข้าสู่ระบบข้อมูลอย่างหนึ่งที่กำลังเป็นที่ฮิตสุดบนอินเทอร์เนต ข้อมูลนี้จะอยู่ในรูปของ Interactive Multimedia คือ มีทั้งรูปภาพ ข้อความ ภาพเคลื่อนไหว เสียง และวีดีโอ อีกทั้งข้อมูลเหล่านี้ยังใช้ระบบที่เรียกว่า hypertext กล่าวคือ จะมีคำสำคัญหรือรูปภาพในข้อมูลนั้นที่จะช่วยให้ท่านเข้าสู่รายละเอียดที่ลึกและกว้างขวางยิ่งขึ้น คำสำคัญดังกล่าวจะเป็นคำที่เป็นตัวหนา หรือขีดเส้นใต้ เพียงแต่ท่านเลือกกดที่คำที่เป็นตัวหนาหรือขีดเส้นใต้ นั้น ๆ ท่านก็สามารถเข้าสู่ข้อมูลเพิ่มเติมได้ (ข้อมูลเหล่านี้จะมีผู้สร้างขึ้นมาและเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ทั่วโลก)
Uniform Resource Locator (URL) คือที่อยู่ของข้อมูลบน WWW ซึ่งถ้าเราจะหาข้อมูลเราต้องทราบที่อยู่ของ homepage หรือ URL ก่อน ตัวอย่างที่อยู่ของ homepage ของกลุ่มเซนต์จอห์นคือ http://www.stjohn.ac.th ส่วนโปรแกรมที่ช่วยให้เข้าสู่ข้อมูลที่อยู่บน WWW ได้ คือ Netscape และ Microsoft Explorer เป็นต้น
3. FTP (File Transfer Protocol)
คือ บริการที่ใช้ในการโอนย้าย file หรือข้อมูลจากคอมพิวเตอร์หนึ่งไปยังอีกคอมพิวเตอร์หนึ่ง ในเครือข่ายอินเทอร์เนตถ้าเครื่องนั้นๆต่อเข้ากับระบบที่เป็นอินเทอร์เนตก็สามารถโอนย้ายข้อมูลกันได้เครื่อง คอมพิวเตอร์บางที่นั้นจะทำหน้าที่ เป็นศูนย์รวมของข้อมูลต่าง ๆ เช่น รูปภาพ , ข้อความ , บทความ , คู่มือ และโปรแกรมต่าง ๆ ที่เป็น Freeware หรือ Shareware เและเปิดให้เข้าไปโอนย้านมาได้ฟรี โปรแกรมที่จะช่วยในการโอนย้ายข้อมูล ก็เช่น Netscape, Telnet WSFTP เป็นต้น
4.Telnet
เป็นบริการที่ช่วยให้เราสามารถเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์อื่นเสมือนหนึ่งไปนั่งใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของที่นั่น โปรแกรมที่ช่วยให้ท่านใช้บริการนี้ได้คือ โปรแกรม NCSA Telnet เมื่อเปิดโปรแกรมแล้วให้พิมพ์คำสั่ง Telnet ดังในรูปภาพข้างล่างเมื่อท่านใช้คำสั่ง Telnet แล้วให้พิมพ์ที่อยู๋ของแหล่งข้อมูลนั้น ท่านก็จะสามารถเข้าสู่ระบบข้อมูลนั้น ๆ ได้เสมือนท่านไปนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ของเครื่อง ๆ นั้นเลยทีเดียว ระบบ Telnet

5. Usenet / News groups
เป็นบริการที่ช่วยให้ท่านเข้าสู่ข่าวสารข้อมูลของกลุ่มสนทนาแลกเปลี่ยนปัญหาข้อสงสัยข่าวสารต่าง ๆ กลุ่มเหล่านี้จะมีสารพัดกลุ่มตามความสนใจ โปรแกรมที่ช่วยให้ท่านใช้บริการนี้ คือ โปรแกรม Netscape News ที่อยู่ใน โปรแกรม Netscape Navigator Gold 3.0 เมือเปิดโปรแกรมดังกล่าว จากนั้นรายชื่อของกลุ่มสนทนาจะปรากฎขึ้นให้ท่านเลือกอ่านตามใจชอบ

หากจะใช้ Internet ควรต้องมีอะไรบ้าง ?
1. เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่อเชื่อมอยู่ในเครือข่ายอินเทอร์เนต การต่อเครื่องเครื่องคอมพิวเตอร์เข้ากับระบบเครือข่ายอินเทอร์เนตนั้น ลักษณะการต่อจะขึ้นอยู่กับความเร็วของสายที่ต่อเชื่อม
2. หากท่านต้องการใช้บริการอินเทอร์เนตจากที่บ้าน โดยการต่อคอมพิวเตอร์ที่บ้านให้เข้าสู่ ระบบเครือข่ายอินเทอร์เนต ท่านต้องมี Modem (โมเด็ม) หรือตัวแปลงสัญญาณ โมเด็มจะเป็นตัวช่วยให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของท่านรับข้อมูลจากอินเทอร์เนต ได้ความเร็วของ Modem ควรจะเป็นอย่างต่ำ 14.1 kbps หรือมากกว่านั้น (kilobyte per second = อัตราความเร็วในการส่งข้อมูล)
3. หากท่านใช้บริการอินเทอร์เนตจากที่ทำงาน มหาวิทยาลัยหรือโรงเรียน สำหรับหน่วยงาน
ใหญ่ ๆ มักจะมีการต่อเชื่อมเข้ากับระบบอินเทอร์เนตด้วยการใช้สายเช่า ซึ่งมีความเร็วในการส่งสัญญาณสูงแทนโมเด็ม และจะต้องมีโปรแกรมที่ช่วยให้ท่านเข้าสู่ระบบอินเทอร์เนต ขึ้นอยู่กับว่าท่านจะเลือกใช้บริการอะไร ตัวอย่างเช่น หารกจะใช้ E-Mail (Electronic Mail) หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โปแกรมที่จะใช้ได้ เช่น Pine , Eudora , Netscape Mail, Microsoft Explorer แต่ถ้าจะใช้ WWW ก็ต้องใช้โปรแกรม Netscape เป็นต้น
4. Internet Account ท่านต้องเปิดบัญชีอินเทอร์เนต เหมือนกับต้องจดทะเบียนมีชื่อและที่อยู่บนอินเทอร์เนต เพื่อที่ว่าเวลาติดต่อสื่อสารกับใครบนอินเทอร์เนต จะได้มีข้อมูลส่งกลับมาหาท่านได้ถูกที่



มารยาทในการใช้อินเตอร์เนต (Netiguette)
1.       การใช้อักษรพิมพ์ตัวใหญ่หมดทุกตัวในการเขียนจดหมายจะเป็นเสมือนการตะโกน ดังนั้นควรเลือกใช้ตัวอักษรให้เหมาะสม
2.       ไม่ควรใช้อารมณ์ในการตอบโต้ และควรรักษามารยาทโดยใช้คำที่สุภาพ
3.       ไม่มีความลับใด ๆ บน Internet ให้นึกเสมอว่าข้อความของเราจะมีคนอ่านมากมายเมื่อเขียนไปแล้วไม่สามารถลบล้างได้